mammos

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

ตลาดน้ำตลิ่งชัน


ตลาดน้ำตลิ่งชัน

ตลาดน้ำตลิ่งชัน ตลาดน้ำใจกลางเมืองกรุง เป็นตลาดน้ำที่ยังคงวิถีชีวิตความเป็นชาวสวนริมคลอง มีพ่อค้าแม่ค้า พายเรือขายอาหาร ผักผลไม้ต่างๆ ทั้งบนโป๊ะและในคลอง เช่น กั๋วยเตี๊ยว ขนมไทย ผลไม้ต่างๆ ฯลฯ บนตัว ตลาดเองอยู่บนบกริมคลองหน้าสำนักงานเขตตลิ่งชัน มีร้านอาหารและแผงลอยขายต้นไม้ประดับ ของตกแต่ง อาหาร ต่างๆ  ตลาดน้ำตลิ่งชัน ตลาด เปิดเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดเทศกาล ตั้งแต่ 8 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น



ตลาดน้ำตลิ่งชัน หรือที่คนทั่วไปคุ้นเคยเรียกกันติดปากว่า "คลองชักพระ" มีความสวยสดงดงาม มีอากาศบริสุทธิ์ วิ่งวนหล่อเลี้ยงอยู่ทุกอณูของลมหายใจ ราวกับได้ย้อนยุคกลับไปสู่สังคมในอดีตที่มลพิษยังไม่ก้าวล้ำข้ามเส้น แบ่งมารบกวน ภาพโดยรวมของสถานที่แห่งนี้เป็นตลาดกึ่งชนบท ที่ผสมผสานวิถีชีวิตริมน้ำของชาวบ้านกับ ธรรมชาติเอาไว้ด้วยกันอย่างลงตัว ทำให้สิ่งที่ปรากฏให้เห็นอยู่ตรงหน้าเมื่อไปเยือน คล้ายภาพถ่ายในอดีตที่ผู้คน ต่างทำมาหากินในระดับชีวิตแบบพอเพียง ด้วยการเก็บพืชผัก ผลไม้ จากไร่สวนมาขายทำให้ผลผลิตที่วางเรียง รายขาย จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปตามฤดูกาล บางคนก็แปลงกายจากแม่บ้านเป็นแม่ค้าโชว์ฝีมือทำอาหาร รสเด็ด ตามสไตล์ที่ถนัด ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปที่ของหวานและอาหารรสจัด รสชาติไทยแท้แบบดั้งเดิม





ด้านหน้าทางเข้าของตลาดน้ำสองข้างทางเต็มไปด้วยของขายละลานตามากมาย ทั้งขนมหวานที่หาทานยาก ผลไม้เนื้อนุ่มหวานฉ่ำ พืชผักพื้บ้านสดๆจากสวนของชาวบ้าน งานหัตถกรรมฝีมือดีน่าชื่นชมจากภูมิปัญญาชาวบ้าน รวมถึงของดีฝั่งธน ต้นไม้และกล้วยไม่นานาพันธุ์ที่เพาะส่งตรงมาจากสวนส่วนตัว






ไฮไลต์ของการท่องเที่ยวตลาดน้ำตลิ่งชัน
คือ การท่องเที่ยวทางน้ำโดยการนั่งเรือหางยาง สัมผัสบรรยากาศและธรรมชาติอันหลากหลาย ของสองฟาก ฝั่งคลองซึ่งในปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีให้ได้พบเห็นกันแล้ว โดยโปรแกรมท่องเที่ยวที่ทางตลาดน้ำตลิ่งชัน ได้จัดเตรียมไว้ มี ดังนี้
โปรแกรมท่องเที่ยว  3 ตลาด 
เป็นโปรแกรมยอดฮิตและขึ้นชื่อ นำเที่ยวตลาดน้ำคลองลัดมะยม ตลาดน้ำวัดบางสะพาน และตลาดน้ำลิ่งชั้น  โปรแกรมนี้จะมีเพียงรอบเดียวเท่านั้น คือ เวลา 09.30 น. (รอบเดียว) ราคาผู้ใหญ่ 99 บาท เด็ก 60 บาท ใช้เวลา 3 ชั่วโมง
ทัวร์กล้วยไม้ ไหว้พระ ชมตลาด
ล่องเรื่อสัมผัสอากาศบริสุทธิ์ ทำบุญวักเกาะไหว้หลวงพ่อดำ 312 ปี ชมสวนกล้วยไม้ แวะตลาดน้ำบางสะพาน ไหว้พระพุทธรูปทรายสมัยกรุงศรีอยุธยา และแวะให้อาหารปลาที่วัดปากน้ำฝั่งใต้ แวะซื้อข้าวหลามเผา มีรอบ 13.00 น.(รอบเดียว)  ราคาผู้ใหญ่ 99 บาท เด็ก 60 บาท ใช้เวลา 3 ชั่วโมง
ทัวร์สวนงูธนบุรี
ล่องเรือย้อนแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่าเส้นทางในการเดินทัพสมัยกรุงธนบุรี เที่ยวสวนงูเพลิดเพลินกับสัตว์นา นา ชนิด ตื่นเต้นกับการแสดงคนและงู ไหว้หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ  มีรอบ 13.00 น.(รอบเดียว) ราคาผู้ใหญ่ 150 บาท เด็ก 60 บาทใช้เวลา 1 ชั่วโมง
ทัวร์ชั่วโมงเดียวเที่ยวรอบเกาะ 
นั่งเรือชมบรรยาศผ่าน เส้นทางตลาดน้ำตลิ่งชัน คลองชักพระ แยกคลองมอญ เข้าสู่คลองบางเชือกหนัง ออกคลองบางกอกน้อย ชมบ้านเรือนไทย วัดวาอาราม สมัยกรุงศรีอยุธยา มีหลายรอบ เริ่มตั้งแต่ 12.00 – 15.00 น. ราคา  60 บาท ทุกที่นั่ง ใช้เวลา 1 ชั่วโมง
ทัวร์ทำบุญไว้พระ 400 ปี
  ปิดทองหลวงพ่อโต วัดอินทราวาส ร่วมนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ไหว้หลวงพ่อหินอ่อน หลวงพ่อวัดโสธร หลวงพ่อวัดไร่ขิง ปิดทองรอยพระพุทธบาทจำลอง ขอพระพระแม่กวนอิม  ขอลาภกุมารแฝด ศรนรินทร์ – สินนารายณ์ ชมตลาดน้ำวัดบางสะพาน กราบพระพุทธรูปอายุ 400 ปี สมัยอยุธยา ที่วัดตลิ่งชัน ราคาผู้ใหญ่ 99 บาท เด็ก 60 บาท ใช้เวลา 3 ชั่วโมง








การเดินทางไปตลาดน้ำตลิ่งชัน
1. รถยนต์ส่วนตัว 
ใช้ถนนบรมราชชนนี โดยถ้าใช้ถนนพื้นราบ มาจากทางสะพานกรุงธนหรือสะพานพระปิ่นเกล้า พอข้ามสะพานข้าม คลอง (ที่มีขนส่งสายใต้อยู่ทางซ้าย) ก็ให้ชิดซ้ายสุดเข้าทางคู่ขนาน แล้ว เลี้ยวซ้าย เข้าซอยแรกทันทีตรงนี้ ต้อง ขับรถระวังหน่อยเพราะต้องรีบชิดเข้าซ้าย พอเข้าซอยมาได้แล้วก็มา เลี้ยวขวา ที่แยกแรกที่เจอ แล้วตรงไปจน เจอสามแยก เลี้ยวซ้าย เข้าไปก็จะถึงแล้ว ถ้าใช้ทางยกระดับคู่ขนานลอยฟ้าฯ มาจากสะพานพระราม 8 ขาออก หรือปิ่นเกล้า ให้ใช้ทางออก ตลิ่งชัน ลงมา วิ่งผ่าน สน.ตลิ่งชันมานิดเดียวก็ ชิดซ้ายเลี้ยวเข้าถนนฉิมพลี ได้เลย สังเกตว่าแยกเข้าถนนฉิมพลีจะอยู่ตรงทางลาดขึ้นสะพานลอยกลับรถ ขับเข้ามาตามถนนฉิมพลีเรื่อยๆไม่ต้อง เลี้ยว ที่แยกไหน ก็จะมาเจอกับตลาดน้ำตลิ่งชัน ระวังอย่าขับเพลินเลยทางเลี้ยวเข้าถนนฉิมพลีไป เพราะเลยไป อีกนิดจะเป็นถนนราชพฤกษ์ ที่เลี้ยวซ้ายไปเพชรเกษมโน้นเลย
ที่จอดรถ ลานจอดรถของ สนง.เขตตลิ่งชันเลย ถ้าเต็มให้ขับรถตรงออกมาจะมีที่จอดรถของเขตอีกที่นึงทางด้าน ซ้ายมือ (อยู่ใกล้เคียงกับ วัดกาญจนสิงหาสน์ วัดรัชฏาธิฐาน วัดเรไร ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร)
ขากลับ
สำหรับใครจะใช้บรมราชชนนีขาเข้ากลับเข้ามา เพื่อจะข้ามสะพานพระปิ่นเกล้าหรือสะพานกรุงธน แนะนำว่าให้ กลับออกมาทางถนนฉิมพลี คือ ถนนที่ถ้าเดินออกจากตลาดก็ตรงต่อไปเลย วิ่งตามทางไปเรื่อยพอมาถึงถนนบรม ราชชนนีแล้ว ไม่ต้องวิ่งไปหาสะพานลอยกลับรถที่อยู่ไกล เราจะมาใช้ถนนราชพฤกษ์ช่วยพาเรากลับเข้าเมืองกัน พอเลี้ยวออกจากถนนฉิมพลีมาเข้าบรมราชชนนีกันแล้ว เลยมานิดเดียวก็ให้ เลี้ยวซ้าย เข้าถนนราชพฤกษ์ที่ชี้ว่าไป "เพชรเกษม" ได้เลย เข้าราชพฤกษ์มาจะมี ทางกลับรถลอดใต้สะพาน อยู่ข้างหน้า ให้กลับรถ มาแล้วชิดขวาเข้า มาในทางด่วนวิ่งข้ามบรมราชชนนีมา แล้วก็ ใช้ทางออกด้านซ้าย ตามป้ายชี้ทาง "ปิ่นเกล้า" มา แค่นี้ก็สามารถย้อน กลับเข้าเมืองมาได้แล้ว
2. รถประจำทาง 
สายที่ผ่านคือ สาย 79 (ราชประสงค์ - พุทธมณฑลสาย 2)  และ 83





ที่มา   http://www.paiduaykan.com/province/central/bangkok/talingchanfloatingmarket.html

           http://www.youtube.com/watch?v=52a6BSaFiZI

ปิล๊อก


ปิล๊อก

ย้อนอดีต ปิล๊อกไปเมื่อหลาย 10 ปีก่อน มีผู้พบเห็นชาวพม่าเข้ามาลักลอบขุดแร่ในพื้นที่ตำบลปิล๊อกไปขายให้ ทหารอังกฤษ คำเล่าลือนี้ทำให้กรมทรัพยากรธรณีสมัยนั้นนำคณะนายช่างมาสำรวจก็ถึงกับตะลึง เมื่อพบว่าพื้นที่ แถบนี้ี่มีแร่ดีบุกและวุลแฟรมอยู่มากมายรองลงมาและมักอยู่ปะปนกันคือ แร่ทังสะเตน และยังมีสายแร่ทองคำ ปะปนอยู่กับ สายแร่ดีบุกต่อมา ปี พ.ศ. 2483 องค์การเหมืองแร่ กรมโลหะกิจ ได้เปิด“เหมืองปิล๊อก”ขึ้นเป็น แห่งแรกที่บ้านอีต่อง ต.ปิล๊อก จากการเปิดเหมืองในครั้งนั้นได้เกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจกับกรรมกรพม่า เพราะฝ่ายไทยห้ามกรรมกรพม่านำแร่ไปขายให้อังกฤษ แต่กรรมกรพม่าฝ่าฝืน จึงเกิดการปะทะกันทำให้มีผู้บาด เจ็บและล้มตายจำนวนมาก ในอดีตชาวบ้านเรียกว่า "เหมืองผีหลอก" ต่อมาเพี้ยนเป็น "ปิล๊อก" ซึ่งกลายเป็นชื่อ เหมืองแร่และตำบลในเวลาต่อมา หลังจากนั้นก็ได้มีเหมืองแร่อื่นๆทยอยเปิดตามกันมาอีกมากมายทั้ง เหมืองเล็ก เหมืองใหญ่ ราว 50-60 เหมือง โดยผู้คนพากันเรียกบรรดาเหมืองทั้งหลายในพื้นที่แถบนี้แบบเหมารวมว่า 

“เหมืองปิล๊อก” ดินแดนแห่งนี้เปรียบเสมือนขุมทรัพย์ของ บรรดานายเมืองทั้งหลายที่ต่างหลั่งไหลเข้ามาผู้แสวง โชคมีทั้งคนไทย พม่า และที่มาจากแถบอินเดีย เหมืองแร่จึงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ชุมชนโดยรอบเป็น อย่างมากเนื่อง




นิยายเหมืองแร่แห่งปิล๊อกดำเนินเรื่องราวอยู่หลายสิบปี ก่อนประสบภาวะราคาแร่โลกตกต่ำในปี พ.ศ. 2528 บรรดาเหมืองแร่ทยอยปิดตัวลง ไม่เว้นแม้แต่เหมืองปิล๊อก ทิ้งไว้เพียงตำนานเมืองเหมืองอันรุ่งโรจน์และ มนต์เสน่ห์ แห่งปัจจุบันอันเรียบง่ายสงบงามให้ผู้สนใจออกดั้นด้นเดินทางไปค้นหา ปิล๊อกกลายเป็นแหล่งท่อง เที่ยวที่แวดล้อม ด้วยทะเลแห่งภูเขาอันสลับซับซ้อนและสวยงามของเทือกเขาตะนาวศรี เส้นแบ่งเขตแดนไทย-พม่า ทุกๆปี อำเภอ ทองผาภูมิจึงร่วมกับ อบต.ปิล็อก และส่วนราชการ จัดงาน "สัมผัสอากาศเย็น เด่นในตำนาน 

เหมืองแร่ปิล๊อก ขึ้นทุกปีช่วงต้นเดือนธันวาคม ในงานจัดให้มีนิทรรศการการทำเหมืองแร่ และกิจกรรมเที่ยวชม น้ำตกจ๊อกกระดิ่ง น้ำตกเจ็ดมิตร อุโมงค์เหมืองแร่ เนิน ตชด. และเนินเสาธง




สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

1.ฐานปฎิบัติการช้างศึก

ตะนาวศรีได้ 360 องศา หากขึ้นมาตอนกลางวันในวันอากาศดีจะสามารถมองเห็นทะเลอันดามันตรงอ่าวเมาะตะมะ ของพม่านอกจากนี้ยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามอีกจุดหนึ่ง มีฐานตชด.ลอยฟ้าซึ่งครั้งหนึ่งหรือ หลายครั้ง ใน อดีตที่นี่เคยเป็นสมรภูมิรบระหว่างไทย กับ พม่า หรือ ชนกลุ่มน้อยสักก

ฐานต.ช.ด.ลอยฟ้า หลุมหลบภัยในยามศึก




ทิวทัศน์เขาเทือกเขาตะนาวศรีอันสลับซับซ้อน




2. บ้านอีต่อง 

จุดชมวิวจุดนี้ สามารถมองเห็นเขาช้างเผือก ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของ อ. ทองผาภูมิ มีนักนักท่องเที่ยวที่รัก การเดินป่าและผจญภัยขึ้นไปพิชิตความสวยงามและยิ่งใหญ่ของที่นี่กันแทบทุกปี



3.บ้านป้าเกล็น(เหมืองสมศักดิ์)

รีสอร์ทเล็กๆในหุบเขาใหญ่ บ้านน้อยหลังนี้เกิดขึ้นจากความตั้งมั่นใน ความรักและคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้กับ คุณสมศักดิ์ซึ่งเป็นแรงขับทำให้ป้าเกล็นใช้ชีวิตอยู่ที่ดินแดนที่ห่างไกลจากผู้คนแห่งนี้ได้อย่างสุขใจโดยการแปร สภาพจากเหมืองแร่ มาเป็นรีสอร์ทเล็กๆในหุบเขาใหญ่ภายใต้สโลแกนว่า ที่นี่คือ “บ้านเล็กในป่าใหญ่”ปัจจุบัน บ้านที่ป้าเกล็นที่พักก็ปรับปรุง มาจากโรงเก็บพัสดุเก่าของเหมืองแร่และกลายเป็นห้องรับรองของแขก



4.เนินเสาธง 

เนินเสาธงเป็นพื้นที่ยอดเขาที่กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหภาพพม่า โดยที่ทางการทหารไทยได้ จัดตั้งเสาธงพร้อมติดธงชาติไทยขนาดใหญ่ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าพื้นที่นี้เป็นจุดพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับ ประเทศสหภาพพม่า ทางการทหารไทยจึงได้ให้ชื่อพื้นที่แห่งนี้ว่า “เนินเสาธง” และได้อนุญาตให้ประชาชนทั่วไป เข้าเที่ยวชมได้ โดยมีกำลังของทหารไทย และกองกำลังตำรวจตระเวนชายแดนของไทยรักความปลอดภัย ให้ ตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อเราอยู่บนเนินเสาธงนี้แล้ว เราจะได้พบกับบรรยากาศเย็นสบาย อากาศสดชื่นแสนบริสุทธิ์ สามารถมองลงเห็นทิวทัศน์ได้รอบตัวเรา ทั้งทิวทัศน์ที่สวยงามในประเทศไทยและทิวทัศน์ในประเทศสหภาพพม่า และเมื่อวันใด ท้องฟ้าเปิดเราก็จะได้เห็นท้องทะเลอันดามันได้อีกด้วย

5.จุดชมทิวทัศน์เขาขาด

เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่อยู่บนยอดเขาสูง มีกระแสลมพัดผ่านตลอดเวลา อากาศบริสุทธิ์และเย็นสบาย จากการสำรวจ

ได้พบว่า จุดชมทิวทัศน์แห่งนี้มีความสวยงามมาก เมื่อเราไปอยู่บนจุดนี้แล้วเราสามารถมองเห็นทิวทัศน์ต่าง ๆ 

ได้รอบตัว อันดับแรกเราจะได้เห็นน้ำตกจ๊อกกระดิ่นที่มีสายน้ำไหลผ่านหน้าผาสูงลงสู่ พื้นล่างแล้วแตกกระจาย ออกมากลายเป็นกลุ่มไอน้ำลอยตัวขึ้นมาจากพื้นล่างน่าประทับใจเป็นยิ่งนัก จะมองเห็น หมู่บ้านอีต่องหมู่บ้าน หินกองเนินเสาธง ทิวทัศน์ในประเทศสหภาพพม่าและเมื่อใดท้องฟ้าเปิดก็จะมองเห็นท้องทะเลอันดามันได้ด้วย ตาเปล่า การเดินทางค่อนข้างลำบากจะต้องเดินทางด้วยเท้าตลอดจากปากทางเข้าที่ระหว่าง หลักกิโลเมตร ที่ 24–25 ของถนนสายบ้านไร่อีต่อง เป็นระยะประมาณ 2 กิโลเมตร 



6.จุดชมทิวทัศน์ กม. 15 

อยู่บริเวณหลักกิโลเมตร ที่ 15 ถนนสายบ้านไร่-อีต่อง จุดชมทิวทัศน์แห่งนี้อยู่ริมถนนพอดี อากาศที่นี่เย็นสบาย เราสามารถมองเห็นทิวทัศน์ต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย ทิวทัศน์อ่างเก็บน้ำของเขื่อนเขาแหลมเป็นจุดที่น่าสนใจที่สุด เพราะมีความสวยงามประทับตาต้องใจของผู้ที่ไปเที่ยวชมเป็นอย่างมาก การเดินทางใช้เส้นทางสาย บ้านไร่อีต่อง

7. น้ำตกผาแป 

เป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของบ้านป้าเกล็น ห่างกันประมาณ 2.5 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่ ยังมีความเป็นธรรมชาติอยู่มาก เนื่อจากตั้งอยู่กลางหุบเขาอันสลับซับซ้อน ไหลลงมาจากหน้าผาสูงชัน การเดิน ทางไปน้ำตกผาแปต้องใช้รถที่มีมีกำลังขับเขื่อเท่านั้น เนื่องจากทางเป็นดินลูกรังและค่อนข้างชันทีเดียว



8.น้ำตกเจ็ดมิตร

ตั้งอยู่ในเขตสัมปทานการทำเหมืองแร่ดีบุก ของบ้านป้าเกล็น ชื่อที่มาของน้ำตกเจ็ดมิตร นั้น เป็นชื่อที่ตั้งตามผู้ บุกเบิก เหมืองแร่ จำนวน 7 คน ที่เดินทางสำรวจหาแหล่งแร่ การเดินทางเข้าไปตัวน้ำตกจะต้องใช้รถขับเคลื่อน สี่ล้อเท่านั้น เพราะหนทางค่อนข้างลำบากเป็นทางลูกรังไต่ตามสันเขา ระยะทางประมาณ 14 กมจากที่พักของ ป้าเกล็น เป็นน้ำตกที่ยังคงความเป็นธรรมชาติ และส่วนตัว คนเข้าไปมีจำนวนน้อยมาก จึงเป็นน้ำตกที่สะอาดปราศ จากขยะต่างๆ

การเดินทางไปปิล๊อก

1. โดยรถยนต์ส่วนตัว

จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่าน จ.นครปฐม ขับมาประมาณ 9 กม.จะพบสะพาน ลอย ข้ามไปทาง จ.กาญจนบุรี ขับไปตามทางหลวงหมายเลข 323 ขับมาประมาณ 7 กม. ท่านจะพบสี่แยก ให้ เลี้ยว ขวา ( แยกซ้ายไปบ้านโป่ง ตรงไปคือถ้ำค้างคาว) เพื่อไปยัง อ.เมืองกาญจนบุรี จากนั้นมุ่งหน้าสู่สี่แยก แก่งเสี้ยนให้ขับ ไปทาง อ. ทองผาภูมิ ซึ่งจะผ่านทั้งไทรโยคน้อย และไทรโยคใหญ่ ( หลักกม.ที่ 125 ทางหลวง หมายเลข 323 ) จะพบ สามแยก ( ตรงไปไปอำเภอทองผาภูมิ + เขื่อนเขาแหลม ถ้าเลี้ยวขวาไปอำเภอสังขละบุรี) ให้ขับตรงไปเพื่อมุ่งหน้าสู่ อ.ทองผาภูมิ ประมาณ 25 กิโลเมตร เส้นทางเป็นทางลัดเลาะตามไหล่เขา ถนนค่อนข้าง แคบโค้งเยอะ ก็จะถึงที่ทำการ ี่อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ  ขับไป 2.5 กิโลเมตร ทางขวามือมีทางแยกไปน้ำตก น้ำตกจ๊อกกระดิ่น ขับตรงไปอีกนิด ทางซ้ายมือจะมีเส้นทางลงเขาปากทางปักป้ายไว้ว่า เหมืองสมศักดิ์ (บ้านป้าเกล็น)หากตรงไปเรื่อยก็จะถึงร้านโชห่วย แล้วก็ถึงสภ.ต.ปิล๊อกวิ่งแยกซ้ายไปตามถนนดินอีกประมาณ 3กม. เส้นทางคดเคี้ยว ไปยังฐานของตำรวจ ตชด. ฐานปฎิบัติการช้างศึกลับมาเส้นทางเดิมผ่านถึง ช่องเขาขาด เลยมาอีกหน่อยก็ถึงจุดประสานสัมพันธไมตรี ไทย - พม่า หรือเนินชักธง ที่มีธงไทยปักไว้ให้รู้ว่าที่นี่คือ ดินแดน ไทย และมีธงพม่าปักไว้คู่กันตรงเส้นแดนพม่า จากจุดนี้หากมองลงมาทางฝั่งไทยก็จะมองเห็นตลาดอีต่อง มองเห็นท่อแก๊สที่เริ่มต้นวางเพื่อส่งแก๊สที่ไทยซื้อจากพม่าจากนั้นก็ขับไต่เขาลงไปเรื่อยๆผ่านทางเดินเข้าไปยัง หมู่บ้านอีต่อง รถที่สามารถวิ่งไปยังจุดต่างๆได้นั้นควรเป็น รถกระบะหรือรถขับเคลื่อที่มีกำลังมากพอ ส่วนผู้ที่นำรถ ไปเอง(ไม่ใช่รถโฟร์วีล)สามารถฝากรถได้ที่ สภ.อ.ทองผาภูมิ แล้วให้รถโฟร์วีลของทางเหมืองสมศักดิ์ มารับตาม เวลาที่นัดแนะ ซึ่งรถจะนำเที่ยวไปยังจุดต่างๆของปิล๊อก 

2.รถโดยสารประจำทาง

ในสถานีขนส่งเมืองกาญจน์ มีรถทองผาภูมิ-สังขละ วิ่งทุกๆ 40 นาที เวลา 6.00-18.20 น. การเดินทางไปยังแหล่ง ท่องเที่ยวต่างๆ ในอำเภอทองผาภูมิ จากบริเวณตลาดอำเภอทองผาภูมิจะมีบริการรถโดยสารไป ปิล็อกและมี บริการเช่าเหมาไปยัง แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ด้วย ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย (ททท.) สำนักงานกาญจนบุรี โทร. 0-3451-1200, 0-3451-2500 หรือจะใช้บริการนำเที่ยวของ บ้านป้าเกล็นก็ได้รายละเอียด www.parglen.com





ที่มา   http://www.paiduaykan.com/76_province/central/kanjanaburi/pilock.html

           http://www.youtube.com/watch?v=OPTANizBXkk

วัดพระธาตุนครพนม


วัดพระธาตุนครพนม

พระธาตุพนม เป็นพระธาตุประจำผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ ประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ผลจากการขุดค้นทาง โบราณคดี ลงความเห็นว่าพระธาตุพนมสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1200–1400 ตามตำนานกล่าวว่าผู้สร้างคือ พระมหากัสสปะ พระอรหันต์ 500 องค์ และท้าวพระยาเมืองต่าง ๆ ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ ลักษณะ ของสถาปัตยกรรมมีแหล่งที่มาที่เดียวกันกับปราสาทของขอม และได้ทำการบูรณะเรื่อยมา ในปี พ.ศ. 2485 ได้รับการยกฐานะ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกขึ้นเป็น “วรมหาวิหาร” พระธาตุพนมไม่เพียงแต่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวนครพนมเท่านั้น พระธาตุพนม ยังเป็นที่เคารพของชาวไทยภาคอื่น ๆ และชาวลาวอีกด้วย ว่ากันว่าถ้าใครได้มานมัสการพระธาตุครบ 7 ครั้ง จะถือว่าเป็น “ลูกพระธาตุ” เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและจะมีความเจริญรุ่งเรือง หรือแม้แต่การได้มากราบพระธาตุพนม 1 ครั้ง ก็ถือ เป็นมงคลแก่ชีวิตแล้ว



ในวันที่ 11 สิงหาคม 2518 เวลา 19.38 น. พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงทั้งองค์ เนื่องจากความเก่าแก่ขององค์พระธาตุพนมและ ประจวบกับระหว่างนั้นฝนตกพายุพัดแรงติดต่อกันมาหลายวัน ประชาชนทั้งประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และ รัฐบาลได้ก่อสร้าง องค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม การก่อสร้างนี้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522 นอกจากพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุใน องค์พระธาตุแล้ว ยังมีของมีค่ามากมายนับหมื่นชิ้น โดยเฉพาะฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุเป็นฉัตรทองคำที่มีน้ำหนักถึง 110 กิโลกรัม ปัจจุบันองค์พระธาตุมีฐานกว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.60 เมตร เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูงแลดูสง่างาม งานนมัสการ องค์พระธาตุเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

วัดพระธาตุพนม เป็นวัดวรมหาวิหาร พระอารามหลวง ถือเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ถึงคราวพระราชพิธีราชาภิเษกทุกรัชกาลมา จะต้องนำน้ำจากสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ไปร่วมพิธีด้วยเพื่อประกอบพิธีมุรธาภิเษก และเมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งถือ ว่าเป็น วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีเดิม จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานต้นไม้ ทอง เงิน น้ำอบและผ้าคลุมส่งไปนมัสการ พระธาตุพนม ทุกปี และเมื่อถึงเทศกาลเข้าปุ ริมพรรษา ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเทียนพรรษาเป็นพุทธบูชาทุกปีมา
งานนมัสการพระธาตุพนมประจำปี ถือเอาวันขึ้น 10  ค่ำ เดือน 3  ของ ทุกปีเป็นวันแรกของงานไปสิ้นสุดเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3
วัดพระธาตุนครพนม







การเดินทางไปวัดพระธาตุนครพนม
1.โดยรถยนต์
จากอำเภอเมืองนครพนมเดินทางมาทางทิศใต้ตามเส้นทางหลวง 212 ประมาณ 50 กิโลเมตรถึงอำเภอธาตุพนม
2.โดยรถประจำทาง
จากกรุงเทพมีรถโดยสารไปยังอำเภอธาตุพนมโดยตรง ดูรายละเอียดได้ที่www.transport.co.thหรือจากสถานีขนส่งนครพนม มีรถโดยสารไปอำเภอธาตุพนม






ที่มา   http://www.paiduaykan.com/province/Northeast/nakhonphanom/prathatphanom.html

           http://www.youtube.com/watch?v=CzwvKc7O9T4

หาดคุ้งวิมาน





      หาดคุ้งวิมาน

หาดคุ้งวิมาน ตั้งอยู่ในเขตอำเภอนายายอาม ห่างจากตัวจังหวัดจันทบุรีประมาณกิโลเมตร เป็นชายหาดที่เงียบ สงบ และมีทัศนียภาพที่สวยงามถนนเลียบหาดคุ้งวิมานเป็นถนนเลียบชายหาดที่สวยที่สุดในภาคตะวันออก ท่องเที่ยวเหมาะแก่การพักผ่อนประมาณเดือนพฤศจิกายน - เดือนพฤษภาคมคุ้งวิมานมีลักษณะ เป็นหาดทราย สีเหลือง ที่ริมชายหาดมีร้านค้าบริการ อาหารเครื่องดื่มและห้องอาบน้ำจืด บรรยากาศเงียบสงบ เหมาะแก่การ พักผ่อน มีสถานที่สำหรับพักแรม



จุดชมวิวหาดคุ้งวิมาน





บรรยากาศยามเย็น





ขอขอบคุณภาพสวยๆจาก คุณไวโอลีน http://oncetime.multiply.com
การเดินทางไปชุมชนเก่าริมน้ำ ย่านท่าหลวง
1. รถยนต์ส่วนตัว
หากนักท่องเที่ยว ที่ต้องการเดินทางมาท่องเที่ยวที่ แหล่งท่องเที่ยว หาดคุ้งวิมาน จ.จันทบุรี สามารถใช้เส้นทาง โดยใช้ถนนสุขุมวิท เมื่อถึง หลักกิโลเมตรที่ 301 จะมีทางแยกให้เลี้ยวซ้าย เข้าไปประมาณ 18 กิโลเมตร ก็จะถึง แหล่งท่องเที่ยว หาดคุ้งวิมาน จ.จันทบุรี โดยก่อนที่จะถึง หาดคุ้งวิมานก่อนที่จะถึงคุ้งวิมานประมาณ 1 กิโลเมตร มีทางแยก ซ้ายเข้าไปจุดชมวิวอยู่บนเนินเขา ชื่อจุดชมวิวเนินพญาก่อน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถหยุดพักผ่อน ก่อนได้ เนื่องจากที่จุดชมวิวเนินพญา เวลามองออกไปรอบๆ จะเห็นประกายแดด ที่ส่องสัมผัสกับละออง ของ น้ำทะเล เป็นระยิบระยับ เหมือนหนึ่งกับว่า เราได้ล่องลอยอยู่บนวิมาน แห่งความสุข จากนั้นหาดคุ้งวิมาน ประมาณ 8กิโลเมตรก็จะถึงคุ้งกระเบนซึ่ง มีหาดทรายสีขาวสะอาด และมีบริการที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว




ที่มา   http://www.paiduaykan.com/76_province/east/chanthaburi/khungvimarn.html

          http://www.youtube.com/watch?v=oqKgbCSXV_A

วัดพระธาตุผาแก้ว



วัดพระธาตุผาแก้ว

วัดพระธาตุผาแก้ว เดิมชื่อว่า พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว   ตั้งอยู่ ณ บริเวณเนินเขาในหมู่บ้านทางแดง ต.แคมป์สน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์  โดยคุณภาวิณี โชติกุลและคุณ อุไร โชติกุล ได้มีติตศรัททธาซื้อที่ดินถวาย เพื่อก่อสร้างเป็นสถานปฏิบัติธรรมแก่พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนทั่วไปซึ่งนอกจากจะเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม แล้วยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์  เมื่อได้เดินชมรอบๆวัดจะให้บรรยากาศ ดุจสรวงสวรรค์เนื่องจากตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่โอบล้อมไปด้วย­ภูเขาสูงใหญ่ซ้อนกันเป็นทิวเขา เรียงราย สูงตระหง่าน



บนยอดเขานั้นมีถ้ำอยู่ปลายยอดเขาซึ่งมีชาวบ้านทางแดงหลายคนได้เห็นลูกแก้วลอนอยู่เหนือฟากฟ้าแล้วลับ หายเข้าไปในถ้าบนยอดผา ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุดเสด็จมาและต่างถือว่าเป็นสถานที่มงคลมีความ ศักดิ์สิทธิ์และเรียกตามๆกันว่า ผาซ่อนแก้ว และพุทธสถานที่มาตั้วในจุดโอบล้อมด้วยทิวเขาดังกล่าว จึงเรียกว่า พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว   ซึ่งเป็นนิมิตมงคลแก่ชาวบ้านทางแดงและผู้มาปฏิบัติธรรม





สถานที่สำคัญภายในวัด

1.เจดียฺพระธาตุผาแก้ว
วัตถุประสงค์การสร้างเจดีย์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครอง ราชย์ครบ 60 ปี และเป็นที่สืบพระศาสนา ให้ดำรงอยู่คู่แผ่นดินไทย เพื่อประโยชน์แก่มนุษยชาติ และคนรุ่นหลัง ได้มีโอกาสเรียนรู้ต่อไปบนยอดเจดีย์จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งได้รับประทานม จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก และ บริเวณใต้ฐานพระเจดีย์จะใช้เป็นที่เก็บรวบรวมหลักธรรมคำสอน, ภาพปริศนาธรรม และเป็นที่เจริญสติภาวนา สำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป
เจดีย์วัดพระธาตุผาแก้วอันงดงาม






ประดับประดาด้วยลูกแก้ว ถ้วยชามและกระเบื้องหลากสี





วิวทิวทัศน์ 360 องศา





2.ศาลาปฎิบัติธรรม(ศาลาพระหยกเขียว)
เป็นศาลารูปทรงจัตุรัสโปร่ง รายรอบด้วยบานกระจกขนาดใหญ่ เพื่อให้สัมผัสกับธรรมชาติของขุนเขาอันเขียวชอุ่ม พร้อมทั้งมีสวนดอกไม้นานาพันธุ์โดยรอบ
3.พระพุทธเลิศรัตนโชติมณี
พระรัตนโชติมณี หรือ "พระหยกเขียว" เป็นพระพุทธรูปหยกปางมารวิชัย ซึ่งเป็นศิลปะสมัยเชียงแสน มีขนาด หน้าตัก 65 นิ้วทั้งองค์พระถูกแกะสลักจากหยกเขียวทั้งก้อน ที่พระเศียรได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็น พระสารีริกธาตุที่รับเมตตาประทานจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณา
4.พระพุทธรัตนสัมฤทธิ์ผล
พระพุทธรัตนสัมฤทธิ์ผล หรือ "พระหยกขาว"เป็นพระพุทธรูปหยกปางขัดสมาธิเพชรสร้างตามรูปแบบศิลปะ คันธาระ มีขนาดหน้าตัก 39 นิ้ว พระเศียรขององค์พระ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้รับเมตตาประทานจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ได้ทำพิธีอัญเชิญประดิษฐาน ณ พุทธธรรมสถานผาแก้ว
5.ลานโพธิ์
เป็นสถานที่อันเป็นมงคลอีกแห่งหนึ่ง ในพุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว ซึ่ง ณ จุดใจกลางบริเวณลานโดยรอบ จะมีต้นศรีมหาโพธิ์ปลูกไว้ โดยได้นำกล้าโพธิ์ขนาดความสูง3 นิ้วมาจาก พระครูธรรมศาสน์อุโมษ (พระครูในฎีกา ธงไชยวัฒน์ อิสฺสรธมฺโม) วัดท่ากระชัย อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ซึ่งท่านนำมาจากบริเวณรอบเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย และได้มีเมตตามอบผ่านมาทางศิษย์ พระอาจารย์อำนาจ โอภาโสเพื่อให้นำมาปลูกเป็นเครื่องยึดเ หนี่ยวศรัทธา เพราะถือเป็นต้นไม้ที่ได้ให้ร่มเงาแด่พระพุทธองค์ และได้ทรงตรัสรู้ธรรมภาย ใต้ร่มโพธิ์พระอาจารย์ อำนาจ โอภาโส พร้อมด้วย พระอาจารย์ยงยุทธ สุรยุทฺโธ อีกทั้งญาติธรรม ได้นำกล้าโพธิ์ดังกล่าว ลงปลูกบริเวณ ลานโพธิ์ในวันวิสาขบูชา ปี พ.ศ.2547 พร้อมทั้งทำพิธีเวียนเทียนรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในวันสำคัญทาง ศาสนา ต่างๆ มาโดยตลอด นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติธรรมเป็นใช้เป็นสถานที่เดินจงกรม ในการเจริญสติอีกด้วย
6.พระบรมสารีริกธาต
ได้รับเมตตาประทานมาจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกเพื่อนำมา ประดิษฐาน ณ พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว ให้พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนถวายการสักการะบูชาต่อไป

7.ลานพระสีวลี
สถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูป พุทธมหาสาวก "พระสีวลี"
รายละเอียดเพิ่มเติม
ที่อยู่ วัดพระธาตุผาแก้ว
เลขที่ 95 หมู่ 7 บ้านทางแดง ต.แคมป์สน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ 67280
รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการเข้ามาปฎิบัติธรรมที่  http://www.phasornkaew.org
การเดินทางไปวัดพระธาตุผาแก้ว
1.รถยนต์ส่วนตัว
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางผ่านจังหวัดสระบุรี และใช้เส้นทางหมายเลข 21 สระบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ื่อผ่านตัวเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์มาสักระยะ จนใกล้หลักกิโลเมตรที่ 260ให้สังเกตอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมืองทางซ้ายมือ และเลี้ยว ซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 12 หล่มสัก พิษณุโลกขับต่อไปยังทางหลวงหมายเลข 12 ประมาณ 30 นาที หลัก กิโลเมตรที่ 103  มีจุดสังเกตคือ อบต.แคมป์สนอยู่ทางขวามือ และธนาคารกสิกรไทย เยื้องขึ้นไปทาง ซ้ายมือ ตรงไปกลับรถ และจะเห็นป้าย พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว อยู่ปากซอยทางเข้า หมู่บ้านทางแดง ซึ่งอยู่ด้านข้าง อบต.แคมป์สน เลี้ยวซ้ายเข้าไป ตรงตลอดจนเห็นสะพานทางเข้าวัด เลี้ยวขวาข้ามสะพานและจอดรถ ณ บริเวณที่จัดไว้

2.รถประจำทาง
ท่านสามารถเดินทางมาลงได้ 2 สถานี คือ สถานีหล่มสักแล้วเรียกรถต่อไปยังพิษณุโลก ลงหน้าตลาดห้วยไผ่ ปาก ทางเข้าหมู่บ้านทางแดง เดินเข้ามาประมาณ 10 นาทีจะเห็นสะพานทางเข้าวัดด้านขวามือ หรือสถานีที่ตัว เมือง เพชรบูรณ์ ในระหว่างวัน จะมีรถโดยสารบริการต่อเข้าไปยังตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ ให้ลงรถที่หน้า อบต. แคมป์สน หรือหน้าตลาดห้วยไผ หากท่านต้องการข้อมูลการเดินทางเพิ่มเติม สามารถติดต่อขอข้อมูล การเดินทางโดยรถยนต์โดยสาร ที่ 2 บริษัท คือ
1.    บริษัท เพชรทัวร์ จำกัด
   - สถานีเพชรบูรณ์ 0-5672-2818
   - สถานีกรุงเทพฯ  0-2936-3230
2.    บริษัท ถิ่นสยามทัวร์ จำกัด
   - สถานีเพชรบูรณ์   0-5672-1913
   - สถานีหล่มสัก     0-5670-1613
   - สถานนีกรุงเทพฯ 0-2936-0500  




ที่มา   http://www.paiduaykan.com/76_province/north/phetchabun/pratadphakaew.html

          http://www.youtube.com/watch?v=x43V-cWK-Qg 

ภูทับเบิก เพชรบูรณ์


ภูทับเบิก เพชรบูรณ์

ภูทับเบิก ตั้งอยู่ที่ตำบลวังบาล จ. เพชรบูรณ์ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,768 เมตร ซึ่งเป็นจุดสูงสุด ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ภูมิประเทศมีความงดงามเป็นที่กล่าวถึง เป็นความงามของทะเลภูเขาตามธรรมชาติป่าไม้ อุดมสมบูรณ์ อากาศบริสุทธ์ เย็นสบายตลอดปี ในตอนเช้ามีหมอกและกลุ่มเมฆ มองเห็นเป็นทะเลหมอกตัดกับ ยอดภูสีเขียว เป็นแหล่งปลูกกะหล่ำปลีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภูทับเบิกเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญมากที่หนึ่ง เพราะเป็นจุดรองรับน้ำฟ้ากลางหาว เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2542เวลา 15.59 น. ณ สำนักสงฆ์บ้าน ทับเบิก เพื่อนำ ไปรวมเป็นน้ำเพชรน้อมเกล้าถวายเป็นพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542เป็นสถานที่ที่มีเครื่องวัดอุณหภูมิที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและยังเป็นเส้นทาง เชื่อมโยงสู่แหล่งท่องเที่ยวและ ประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า



ชาวบ้านที่ภูทับเบิกเป็นชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง หรือแม้ว ที่ย้ายถิ่นฐานมาจากทางภาคเหนือ และได้ใช้พื้นที่ ปลูกฝิ่น สำหรับจำหน่าย ในปี พ.ศ. 2510 ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ได้ชักชวนให้ชาวเขาเหล่านี้เข้าร่วมต่อต้าน รัฐบาล แต่เมื่อมีการเข้าปราบปรามและชาวบ้านได้เข้ามอบตัว จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จังหวัด เพชรบูรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2525 โดยชาวบ้านได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีการทำแปลงเกษตรแบบ ขั้นบันได วิถีชีวิตของชางม้งที่นี่ ยังคงมีการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ในทุกๆ ปี จะจัดงานปีใหม่แบบดั้งเดิม และมีการแสดง วัฒนธรรมด้วย







จากสภาพดังกล่าว จึงทำให้ภูทับเบิกเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และดึงดูดใจนักท่องเที่ยวที่นิยมสัมผัสแก่นแท้วิถีชีวิต วัฒนธรรมชุมชน และแหล่งธรรมชาติที่บริสุทธิ์  ซึ่งเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่กำลังมีกระแสความนิยมอยู่ทั่วไป ภายใต้คำกล่าวที่ว่า"นอนทับเบิก สัมผัสความหนาว ดูดาวบนดิน"
สิ่งที่น่าสนใจในภูทับเบิก
1.ชมไร่กะหล่ำยักษ์
ที่ยอดภูทับเบิกจะมีไร่กระหล่ำปลีเต็มไปหมดทุกภูเขา เราสามารถ เดินไปดูเก็บกระหล่ำปลี ซึ่งก็เป็นชาวเขาม้งจะ ขอซื้อมาทานก็ได้ ราคาแสนถูก และสดเหนือคำบรรยายครับ  และอย่าลืมขับรถไปเที่ยวในเส้นทางไปหมูบ้าน ที่ อยู่ห่างจากยอดทับเบิก 5 กิโลเมตร เส้นทางสายนี้นับว่า วิวสวยมาก มองไปทางซ้ายก็กระหล่ำปลีขวา กระหล่ำปลี เป็นภูเขากระหล่ำปลี เหนือยอดกระหล่ำปีเป็นปุยหมอกจางๆ สวยมาก ***สำคัญมากหากใครต้องการไปดูกะหล่ำยักษ์ที่ภูทับเบิก ชาวบ้านจะปลูกกันช่วงนี้
***ช่วงเดือน ก.ค.-ต.ค. ซึ่งเป็นช่วงหน้าฝนก็จะได้บรรยากาศแบบอลังการด้วยทะเลหมอกจากไอฝน ช่วงเดือน พ.ย.ในหน้าหนาวซึ่งจะเป็นช่วงที่สวยงามที่สุด




น้ำค้างยามเช้า



ชาวบ้านเก็บกะหล่ำ



หนูน้อยกะหล่ำ รวมหนูน้อยบนดอย





2.ชมทะเลหมอกภูทับเบิก
ภูทับเบิกยังเป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงามและอลังการอีกแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะหากมาในช่วงหน้าฝนประมาณ เดือนก.ค.- ต.ค.มักจะพบเห็น ทะเลหมอกได้ง่ายกว่าหน้าหนาว

ทะเลหมอกอลังการ



แสงสวยๆในยามเช้า








ขอบคุณภาพทะเลหมอกภูทับเบิกจากคุณก้ิอง http://kongvoi.multiply.com
ที่พักและิสิ่งอำนวยความความสะดวก
1.ศิลาวุธ ภูทับเบิก
เป็นบ้านพักที่อยู่ติดกับแปลงกะหล่ำปลี เข้ามาในภูทับเบิกจะเห็นเป็น จุดแรกเป็นที่พักที่มีจุด ชมวิวสวยที่สุด สามารถเห็นวิวได้ ได้ 360 องศา มีบ้านพัก 2 แบบ คือ
- แบบหลังใหญ่มี 2 หลัง มีห้องน้ำในตัว นอนได้หลังละ 15 คน ค่าบริการคนละ 100 บาท มีผ้่าห่มและเครื่องนอน ให้ครบชุด
- บ้านหญ้าคาเป็นบ้านแบบแบบเต้นท มีทั้งหมด 5 หลัง ไม่มีห้องน้ำในตัว นอนได้หลังละ 3-4 คนมีเครื่องนอน ให้เรียบร้อย
- มีจุดกางเต้นท์สำหรับผู้ที่นำเต้นท์มาเอง

เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 085 -733-5776 (ประธานเซง),089-564-5294 (บุญชู)
081-036-1458 (ซิ) ,089-958-1491(เงีย)
บ้านหลังใหญ่



บ้านหญ้าคา์



จุดกางเต้นท์



2. ศูนย์สงเคราะห์ชาวเขา
- บ้านพักเรือนแถว 2 ชั้น 1 หลัง ชั้นบนเป็นที่พักมี 6 ห้อง มีเครื่องนอนครบชั้นล่างเป็นห้องน้ำ ค่าบริการ คนละ 50 บาท/คืน
- อาคารเรือนพักแฝด 4 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ มีเครื่องนอนครบ ค่าบริการคนละ 50 บาท/คืน มีที่กางเต็นท์ได้ ประมาณ 4-5 หลัง
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ศูนย์สงเคราะห์ชาวเขา 0 5670 1736 , คุณวิชัย  089-566-9152
3. อ.บ.ต. วังบาน
ที่พักนี้จะอยู่ไกลที่สุด
- บ้านพัก มี 3 หลังๆ ละ 800 บาท พักได้ 8 คน
- เช่าเต็นท์ หลังละ 200 บาท ,นำเต็นท์มาเอง คิดคนละ 30 บาท
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ คุณ วิฑูรย์ 081-474-1825 , อบต.วังบาล  0 5674 7532
4.อนามัยทับเบิก
- บ้านพักเรือนแถว 2 ชั้น 1 หลัง ชั้นบนเป็นที่พักมี 6 ห้อง มีเครื่องนอนครบ ชั้นล่างเป็นห้องน้ำ ค่าบริการคนละ 50 บาท/คืน
- อาคารเรือนพักแฝด 4 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ มีเครื่องนอนครบ ค่าบริการคนละ 50 บาท/คืน
- มีที่กางเต็นท์ได้ประมาณ 4-5 หลัง
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ คุณสายัณ 081-037-3368 , คุณอ้น 081-027-6675
5. บ้านทับเบิก
บริเวณทางเข้าภูทับเบิก ตรงร้านกาแฟ
- มีทั้งหมด 4 หลัง ราคาหลังละ 300-500 บาท ติดต่อ คุณกระแต 089-267-9685



การเดินทางไปภูทับเบิก
1.รถยนต์ส่วนตัว
- เส้นทาง จากกรุงเทพฯ ( ห้างฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต ) ใช้ถนนพหลโยธิน ( ทางหลวงหมายเลข 1 ) มุ่งหน้าสู่จังหวัด สระบุรี ประมาณ 75 กิโลเมตร จะถึงตัวเมืองสระบุรี จากนั้นขับตรงไปมุ่งหน้าสู่จังหวัดลพบุรี ประมาณ 16กิโลเมตร สู่ภูทับเบิก จากเพชรบูรณ์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 21 ประมาณ 40 กิโลเมตร ถึงสี่แยกหล่มสัก ตรงไป ตามทาง หลวงหมายเลข 203 อีก 13 กิโลเมตร พบป้ายบอกทางไปอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ตามทางหลวง 2011 และทางหลวงหมายเลข 2331 อีก 40 กิโลเมตร ถึงด่านเก็บค่าธรรมเนียมของอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าจาก ตรงนี้มีทางแยกขวาเข้าหมู่บ้านทับเบิกไปอีก 6 กิโลเมตร เส้นทางจากหล่มเก่ามาภูทับเบิกจะสูงชันและ คดเคี้ยว มาก รถบัสไม่สามารถขึ้นได้ ผู้ที่ใช้รถยนต์หรือรถตู้ ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง
- อีกเส้นทางหนึ่งใช้เส้นทางด้านอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ผ่านอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าเลยที่ทำการ อุทยานฯ มาประมาณ 24 กิโลเมตร จะถึงภูทับเบิกหากขับรถต่อไปจะมาบรรจบกับเส้นทางที่ จะลงไปยัง อำเภอหล่มเก่า

2.รถประจำทาง
การเดินทางมายังภูทับเบิกหากไม่มีรถยนต์มาเอง ต้องนั่งรถโดยสารมาลงที่หล่มสัก การเดินทางมาหล่มสัก หลังจากนั้น เหมาสองแถวที่อยู่บริเวณหล่มสักเพื่อขึ้นสู่ภูทับเิบิก อัตราค่าจ้างประมาณ 1,200 บาท หรือแล้วแต่ตกลงเบอร์รถสองแถว โทร 086 119 1092






ที่มา   http://www.paiduaykan.com/76_province/north/phetchabun/phutubberk.html

          http://www.youtube.com/watch?v=9uE3CmHVWRg