mammos

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

ทะเลชะอำ

ชะอำ มนต์เสน่ห์ทะเลไทย 


ชะอำ ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิต ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันในจังหวัดเพชรบุรี เป็นชายหาดติดทะเลฝั่งอ่าวไทย แต่เดิม ชะอำ เป็นเพียงตำบลหนึ่ง ขึ้นอยู่กับอำเภอ หนองจอก แต่ภายหลังที่หัวหินมีชื่อเสียง ที่ดินแถบชายทะเลถูกจับจองหมด พวกเจ้านายชั้นผู้ใหญ่สมัยนั้น จึงพยายามหาสถานที่พักผ่อนแห่งใหม่ โดยการนำของสมเด็จกรมพระยานราธิปประพันธ์พงศ์ และได้ พบว่า หาดชะอำ เป็นชายหาดที่สวยงามไม่แพ้หัวหิน ชะอำ จึงเริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่นั้นมา ชะอำ ได้รับการพัฒนาเจริญเติบโตขึ้น และยกฐานะเป็นอำเภอจนปัจจุบัน 

หาดชะอำ
           อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 41 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าชายหาด ระยะทาง 2 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่สวยงาม และมีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรี เดิมชะอำเป็นเพียงตำบลหนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอหนองจอก เป็นชายหาดที่เคยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากตั้งแต่สมัยโบราณ ตามประวัติเล่ากันว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยเสด็จมาที่นี่พร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงพอพระราชหฤทัยในความงามของหาดแห่งนี้มาก ทรงประทับแรมอยู่หลายวัน จนกระทั่งชาวบ้านเรียกหาดนี้ว่า หาดเจ้าสำราญ มาจนปัจจุบัน
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน  

           ตั้งอยู่ในบริเวณค่ายพระรามหก ตำบลห้วยทรายเหนือ ตรงหลักกิโลเมตรที่ 216 เลยหาดชะอำมา 8 กิโลเมตร เป็นพระตำหนักที่ประทับริมทะเล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รื้อพระตำหนักหาดเจ้าสำราญมาปลูกขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2466 ได้รับขนานนามว่า "พระราชนิเวศน์แห่งความรักและความหวัง" พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันพุธ ค่าเข้าชม ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 15 บาท



อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
           เป็นศูนย์เรียนรู้ และเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ความรู้ และการฝึกอบรมระดับสากลด้านการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายครบวงจร ตั้งอยู่ภายในบริเวณค่ายพระรามหก ถนนเพชรเกษม ระหว่างชะอำและหัวหิน ทางเข้าทางเดียวกับพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน   

           อุทยานแห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 48 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2548 และเพื่อเป็นการฟื้นฟูพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด ในบริเวณนี้ให้กลับมาอยู่ในสภาพสมบูรณ์ดังเดิม ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร เพื่อกระตุ้นและปลูกจิตสำนึกของประชาชนให้เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม 
วนอุทยานเขานางพันธุรัต  

           เป็นเทือกเขาหินปูนที่มีความสวยงามเอกลักษณ์ โดดเด่นมองเห็นได้จากริมถนนใหญ่ ทอดยาวตามแนวเหนือ - ใต้ มองดูคล้ายนางยักษ์ (นางพันธุรัต) นอนอยู่ มีโกศอยู่ทางทิศใต้ และมีปฎิมากรรมธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับตำนานเรื่องสังข์ทอง  ตั้งอยู่ที่บ้านเขาไม้นวล หมู่ 2 ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 1,562 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2542 เพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงให้อนุรักษ์พื้นที่บริเวณเขานางพันธุรัตไว้เป็นมรดกของชาติ
สวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  

           ตั้งอยู่ที่ตำบลสามพระยา ในเนื้อที่ 340 ไร่ ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประจำปี 2545 รางวัลยอดเยี่ยม ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ศูนย์แห่งนี้ดำเนินการโดยมูลนิธิชัยพัฒนา โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการทำฟาร์มผสมผสานที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ในท้องถิ่นที่เคยแห้งแล้งเนื่องจากการบุกรุกถางป่า และได้รับการพัฒนาฟื้นฟูให้กลับคืนความสมบูรณ์ ด้วยการจัดหาแหล่งน้ำควบคู่กับการเพาะปลูกพืช  และนำผลการทดลองที่ประสบผลสำเร็จนำไปขยายผลสู่เกษตรกร เป็นแนวทางสู่เกษตรยั่งยืน 

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) 
          เป็นโบราณสถานเก่าแก่คู่เมืองเพชรบุรี ตั้งอยู่บนยอดเขาใหญ่ 3 ยอด ยอดที่สูงที่สุดสูง 95 เมตร แต่เดิมชาวบ้านเรียกภูเขานี้ว่า "เขาสมน" พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพอพระราชหฤทัยที่จะสร้างพระราชวังสำหรับเสด็จแปรพระราชฐานขึ้นบนยอดเขาแห่งนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระสมุหกลาโหมเป็นแม่กองก่อสร้าง จนสำเร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ. 2403 ทรงพระราชทานนามว่า พระนครคีรี แต่ชาวเมืองเพชรเรียกกันติดปากว่า "เขาวัง" สืบมาจนบัดนี้ พระนครคีรีมีพระที่นั่ง พระตำหนัก วัด และกลุ่มอาคารต่างๆ มากมาย ส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนิโอคลาสสิคผสมสถาปัตยกรรมจีน 

  "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี" ภายในเก็บรักษาโบราณวัตถุต่าง ๆ ได้แก่ เครื่องราชูปโภคของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รูปหล่อโลหะสำริดและทองเหลืองที่ใช้สำหรับตกแต่งห้องต่างๆ ในพระที่นั่ง และเครื่องกระเบื้องของจีน ญี่ปุ่น และยุโรป เฉพาะส่วนของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินี้ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.00 น. ทุกวัน 




















เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์



เขื่อนป่าสัก ,เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งอยู่ ณ บ้านหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เป็นเขื่อนดินที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ซึ่งแม่น้ำป่าสักมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 13 ในจำนวน 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 14,520 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะของลุ่มน้ำแคบเรียวยาว แหล่งต้นน้ำอยู่จังหวัดเลย ลำน้ำมีความยาว 513 กิโลเมตร ไหลผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี และมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยประมาณ 2,400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี


      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมของโครงการเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสักอย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพื่อประโยชน์ต่อพื้นที่เพาะปลูก และ บรรเทาปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นประจำในลุ่มน้ำป่าสัก เป็นผลสืบเนื่องมายังเขตกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑลด้วย ซึ่งนำความเดือนร้อนมาให้ราษฎร์เกือบทุกปี ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัส  เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทานว่า หากเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปัจจุบัน ก็สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง และขาดแคลนน้ำให้กับประชาชนได้ จะต้องก่อสร้างเขื่อน 2 แห่ง ที่แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำนครนายก ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดำเนินการ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 โครงการนี้ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2537 - 2542 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานนามเขื่อนนี้ว่า "เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" อันหมายถึง "เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ" เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ได้เริ่มเก็บกักน้ำครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบดีราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธี  เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีลักษณะเป็นเขื่อนดิน แกนดินเหนียว ความยาวประมาณ 4,860 เมตร ระดับกักเก็บน้ำสูงสุดที่ +43.00 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ปริมาณกักเก็บน้ำ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีอาคารระบายน้ำ 3 แห่ง คือ


- อาคารระบายน้ำล้น ระบายน้ำได้สูงสุดวินาทีละ 3,900 ลูกบาศก์เมตร
- อาคารท่อระบายน้ำลงลำน้ำเดิม ระบายน้ำได้สูงสุดวินาทีละ 80 ลูกบาศก์เมตร
- อาคารท่อระบายน้ำฉุกเฉิน ระบายน้ำได้สูงสุดวินาทีละ 65 ลูกบาศก์เมตร

      การก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 23,36 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง ด้านชลประทาน 7,831 ล้านบาท งบประมาณแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม 15,505 ล้านบาท โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และงานอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบเสร็จสมบูรณ์และ เพื่อเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในวาระที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

ประโยชน์ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
- เป็นแหล่งน้ำเพื่อ อุปโภค ของชุมชนในเขตจังหวัด ลพบุรี - สระบุรี
- เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ชลประทานที่เกิดใหม่ในเขตจังหวัดลพบุรี-สระบุรี
- ช่วยป้องกันอุทกภัยในเขตพื้นที่ริมแม่น้ำป่าสัก ในเขตจังหวัดลพบุรี-สระบุรี และ ช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑลด้วย
- เป็นแหล่งเพาะพันธ์ปลา และเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่
- เป็นแหล่งน้ำเสริม เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในเขตกรุงเทพฯ
- เป็นแหล่งท่องเที่ยว


ลักษณะของลุ่มน้ำป่าสัก
แม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสาขาที่สำคัญสายหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ต้นน้ำเริ่มที่  อ.ด่านซ้าย  จังหวัดเลย  ไหลผ่าน จังหวัดเพชรบูรณ์ ,ลพบุรี,สระบุรี,และบรรจบกับแม่น้ำ เจ้าพระยาที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมความยาว 513 กิโลเมตร มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 14,520 ตารางกิโลเมตร
ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยในแต่ละปี 2,400ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม

ข้อมูลเฉพาะ
1. ลักษณะทั่วไป  เขื่อนดินเหนียวกั้นแม่น้ำป่าสัก  พื้นที่เหนือเขื่อนเป็นอ่างเก็บน้ำ
2. เขื่อนป่าสักชลสิทธ์
    -  ที่ตั้ง  บ้านแก่งเสือเต้น  ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม  จังหวัดลพบุรี
และบ้านคำพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี พิกัด 47 PQS222 – 443
ระวาง 5238 IV
    -  ลักษณะ   เขื่อนดินมีแกนดินเหนียว
    -  ความยาว  4,860  เมตร
    - ระดับสันเขื่อน +46.5 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง
    - เก็บกักน้ำ  สูงสุดที่ + 43.0 เมตร รทก.ความจุ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร
    - อาคารประกอบ  1.  อาคารระบายน้ำล้นเป็นประตูระบายน้ำคอนกรีตเสริม
เหล็ก 7 ช่อง ระบายน้ำได้สูงสุด 3,900  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

3.  ท่อระบายน้ำลงพื้นลำน้ำเดิมเป็นท่อคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.0 เมตร สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 80 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

4. ท่อระบายน้ำฉุกเฉิน  เป็นบ่อคอนกรีตเสริ้มเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.0 เมตร สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 65 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
- คันกั้นน้ำ  มี 2 แห่ง คือ (1) คันกั้นน้ำท่าหลวง ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าหลวงอำเภอท่าหลวง  จังหวัดลพบุรี  ยาว 1,716 เมตร
                                      (2) คันกั้นน้ำโคกสลุง  ตั้งอยู่ที่ตำบลโคกสลุง  อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ยาว 4,120 เมตร

5.  อ่างเก็บน้ำ
    - ที่ตั้ง  ตลอดคลุมบริเวณพื้นที่  2 ฝั่งแม่น้ำป่าสัก ในเขตอำเภอชัยบาดาล
อำเภอท่าหลวง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี  และอำเภอวังม่วงจังหวัดสระบุรี
    - พื้นที่  114,119 ไร่ หรือ 45,650 เอเคอร์
    - เก็บกักน้ำ  สูงสุดที่  +43.0  เมตร รกท.   ความจุ  960  ล้านลูกบาศก์เมตร
ต่ำสุดที่   +21.50  เมตร รกท.  ความจุ    2 ล้านลูกบาศก์เมตร

งบลงทุน
1)  งานก่อสร้างด้านชลประทาน                      งบประมาณ             5,098.5173   ล้านบาท
     1.1  เขื่อนหัวงานและอาคารประกอบ                 "                      2,656.0000   ล้านบาท
     1.2 ระบบชลประทาน                                       "                      1,267.5173   ล้านบาท
     1.3 ก่อสร้างส่วนประกอบอื่น                             "                      1,175.0000   ล้านบาท
2) งานแก้ไขและพัฒนาสิ่งแวดล้อม                         "                      14,132.2750  ล้านบาท
     2.1 แผนกการประชาสัมพันธ์                             "                         5.5690  ล้านบาท
     2.2 แผนกการจ่ายค่าทดแทนทรัพย์สิน                "                         8,520.7900  ล้านบาท
     2.3 แผนการจัดตั้งถิ่นฐานใหม่                            "                         3,284.0000   ล้านบาท
      และการพัฒนาส่งเสริมอาชีพให้แก่ราษฎร
     2.4  แผนการป้องกันแก้ไขและพัฒนา                  "                         2,224.0280 ล้านบาท
            เส้นทางคมนาคม
            - รถไฟ                                                       "                         2,169.0280  ล้านบาท
            - ทางหลวง                                                "                       55.0000  ล้านบาท
     2.5  แผนการแก้ไขและพัฒนา                    งบประมาณ               97,8880  ล้านบาท
            สิ่งแวดล้อมด้านอื่น ๆ
            2.5.1    แผนงานด้านโบราณคดี                  "                       8.0000  ล้านบาท
            2.5.2    แผนนำไม้ออกและแผ้วถางป่า          "                    36.6360  ล้านบาท
            2.5.3   แผนการอพยพและอนุรักษ์สัตว์ป่า     "                      9.7520  ล้านบาท
            2.5.4   แผนงานด้านทรัพยากรแร่                "                      0.2000 ล้านบาท
            2.5.5   แผนการควบคุมคุณภาพน้ำ              "                    14.2000  ล้านบาท
            2.5.6   แผนการเตรียมการด้าน                    "                    19.5000  ล้านบาท
                        สาธารณสุข
            2.5.7   การติดตามและประเมินผล               "                       9.6000  ล้านบาท
                       รวมทั้งสิ้น                                                              19,230.7900  ล้านบาท


ประโยชน์
         1. เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภค -  บริโภค  ของชุมชนต่าง ๆ ในเขตจังหวัดลพบุรีและ จังหวัดสระบุรี  (ลำนารายณ์  พัฒนานิคม  วังม่วง  แก่งคอย  และชุมชนขนาดย่อมใกล้เคียง)
          2. เป็นแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรสำหรับพื้นที่ชลประทานที่จะเกิดขึ้นใหม่  ในเขตจังหวัดลพบุรี และสระบุรี  135,500 ไร่ (แก่งคอย – บ้านหมอ 80,000 ไร่  , พัฒนานิคม  35,500 ไร่ และพัฒนานิคม – แก่งคอย 20,000 ไร่)
          3. เป็นแหล่งน้ำเสริมสำหรับพื้นที่โครงการชลประทานเกิดในทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง เนื้อที่ประมาณ  2,200,000 ไร่ ทำให้ลดการใช ้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา นำน้ำจากแม่น้ำป่าสักไปใช้ในแถบจังหวัดลพบุรีและสระบุรีโดยตรง
          4. ช่วยป้องกันอุทกภัยให้พื้นที่ริมแม่น้ำป่าสัก ในเขตจังหวัดลพบุรีและสระบุรี และยังมีผลช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลด้วย
          5. เป็นแหล่งน้ำช่วยเสริมเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค – บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
          6. เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดลพบุรี  และสระบุรี
          7. อ่างเก็บน้ำที่เกิดขึ้นจะเป็นแห่ลงเพราะพันธุ์ปลาและเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่
          8. ช่วยการคมนาคมทางน้ำในแม่น้ำป่าสักตอนล่างและการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย
          9. เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ




เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกที่หนึ่งของจังหวัดลพบุรีที่เหล่าประชาชนทั่วไปให้ความสนใจแวะเข้ามาเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นโครงการของพ่อหลวงของพวกเราชาวไทย สร้างขึ้นเพื่อให้พี่น้องในลุ่มน้ำป่าสักแห่งนี้หลอดพ้นจากภัยแล้งและภัยน้ำท่วม ภายในบริเวณเขื่อนยังมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิด บริเวณเขื่อนยังมี จุดชมวิวสันเขื่อน พิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งแสดงความรู้ด้านธรรมชาติ และวัฒนธรรมของท้องถิ่น รอบตัวเขื่อนเป็นสวนสุขภาพเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจร่มรื่นสวยงามด้วยต้นไม้และดอกไม้นานาพันธุ์เราเข้าไปเที่ยวกันเลย







ที่มา http://www.moohin.com/011/011k002.shtml

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C&hl=th&prmd=imvns&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=sJJ1T7WjDoWqrAel9uysDQ&ved=0CE0QsAQ&biw=1280&bih=666

http://www.youtube.com/watch?v=KQ5aWYjubdI




น้ำตกทีลอซู


น้ำตกทีลอซู

น้ำตกทีลอซู ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ห่างจากที่ทำการเขตฯ 3 กิโลเมตร ทีลอซู เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า น้ำตกดำ มีลักษณะเป็นน้ำตกภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร เกิดจากลำห้วยกล้อท้อ ลำน้ำทั้งสายตกลงสู่หน้าผาสูงชัน มีน้ำไหลแรงตลอดปี ความกว้างของตัวน้ำตกประมาณ 500 เมตร ไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ มีความสูงประมาณ 300 เมตร ล้อมรอบด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์ เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของเอเชีย
ตามความจริงต้องออกเสียงว่า "ทีลอชู" และเป็นคำนามในภาษากะเหรี่ยงแปลว่า "น้ำตก" ชื่อ "ทีลอซู" เป็นความพยายามแปลความหมายทีละคำ โดย "ที" หรือ "ทิ" แปลว่า "น้ำ" "ลอ" หรือ "ล่อ" แปลว่า "ตก" แต่ "ชู" ไม่มีความหมายใกล้เคียง ดังนั้น จึงมีความพยายามทำให้เป็นคำที่มีความหมาย เนื่องจาก "ซู" แปลว่า "ดำ" จึงนำไปสู่การเรียกว่า "ทีลอซู" และแปลว่า "น้ำตกดำ"
ทีลอซู ได้รับคำกล่าวขานถึงว่าเป็นน้ำตกที่สวยงาม และมีความสวยงามเป็นพิเศษในช่วงฤดูฝน ระหว่าง 1 มิ.ย. - 31 พ.ย. ปริมาณน้ำฝนที่มากจะเพิ่มปริมาณน้ำในลำธารทำให้สายน้ำตกกว้างใหญ่กว่าฤดูอื่น แต่เป็นช่วงที่ทางรถเข้าน้ำตกปิด เพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้เส้นทางและถนอมสภาพทางไม่ให้เสียหาย นักท่องเที่ยวอาจเลี่ยงใช้เส้นทางนี้ได้ โดยการซื้อทัวร์กับบริษัทนำเที่ยวซึ่งจะเดินทางด้วยเรือยางและเดินป่าอีกราว 12 กม.แต่หากมาท่องเที่ยวช่วงฤดูหนาว - ฤดูร้อนระหว่าง 1 ธ.ค. - 31 พ.ค. ก็สามารถใช้ทางรถยนต์เข้าน้ำตกได้ จึงเป็นช่วงเวลาที่เที่ยวได้สะดวกที่สุด ไม่ว่าจะเที่ยวแบบไปกลับหรือพักค้างแรม
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้กำหนดให้น้ำตกทีลอซู เป็นหนึ่งในเก้าตะวัน ตามโครงการมหัศจรรย์เมืองไทย 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน โดยมีจุดเด่นคือ "มหัศจรรย์รุ้งกินน้ำที่น้ำตกทีลอซู"

ประวัติน้ำตกทีลอซู

ทีลอซู ได้รับการค้นพบโดยพรานชาวกะเหรี่ยงคนหนึ่งที่เดินเข้ามาล่าสัตว์ ก่อนที่ ตชด.ได้บินเข้ามาสำรวจในพื้นที่และได้พบน้ำตกทีลอชู ต่อมากรมป่าไม้จะประกาศให้บริเวณนี้เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง และหลังจากปี พ.ศ. 2528 ที่ อ. ปรีชา อินทวงศ์ พาบุคลากรของนิตยสารท่องเที่ยวแคมปิง เข้าไปสำรวจน้ำตกทีลอซูและนำไปตีพิมพ์ลงนิตยสารจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนภายนอกรู้จัก
"ทีลอซู" หรือออกเสียงตามภาษาภาษาปะก่าหญอว่า "ที-หล่อ-ชู" ที แปลว่า น้ำ, หล่อ แปลว่า ไหล และ ชู แปลว่า ทิ้มแทง (หล่อ-ชู เป็น กิริยา หมายถึง การไหลลงมาอย่างแรงของน้ำปะทะกับพื้นเบื้องล่าง) ดังนั้นจึงแปลว่าน้ำตก (บางท่านบอกว่าแปลว่า น้ำตกดำ คำว่า "ดำ" ไม่ได้ออกเสียงว่า ซู แต่ออกเสียงคล้ายๆกัน ไม่รู้จะเขียนเป็นอักษรไทยอย่างไร เพราะเสียงนี้ไม่มีในภาษาไทย ต้องออกเสียงให้ฟังนะครับ ถึงจะแยกความแตกต่างได้) น้ำตกนี้ซ่อนอยู่ในหลืบผาอันกว้างใหญ่ สายน้ำเกิดจากห้วยกล้อทอซึ่งมีแดนกำเนิดอยู่บนดอยผะวี แล้วไหลลงแม่น้ำแม่กลองที่ ต. แม่ละมุ้ง อ. อุ้มผาง
การค้นพบที่กล่าวถึงเป็นการพบของคนไทย จากงานของ ประชา แม่จัน ในหนังสือ "อุ้มผาง เบื้องหลังธรรมชาติ" [2] เขียนถึง บริเวณที่ตั้งแคมป์ทีลอชู เป็นบ้านเก่าชาวปกากะญอ (กะเหรี่ยง) เรียกว่า "ว่าชื่อคี" บริเวณที่จอดรถเป็นที่นาเก่าของชาวบ้านที่นี่ การที่เป็นบ้านร้างเพราะชาวบ้านบางส่วนได้ย้ายไปอยู่บ้านโขะทะเพื่อเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่เหลือย้ายเข้ามาอยู่กับฝ่ายรัฐบาล ดังนั้น ชาวปกากะญอที่นี่รู้จักน้ำตกทีลอชูมาช้านานแล้ว

สิ่งที่น่าสนใจ
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะทาง 1.5 กม.ก่อนถึงน้ำตกจะผ่านป่าไผ่และป่าเบญจพรรณ มีดอกกระเจียวขึ้นตามพื้นป่าระหว่างทางมีป้ายสื่อความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติและพืชพันธุ์ตามจุดต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษา เมื่อถึงบริเวณน้ำตก จะเห็นละอองน้ำฟุ้งกระจายไปทั่วโขดหินเบื้องล่าง มองเห็นธารน้ำตกลงมาจากผาหินปูนซึ่งอยู่สูงประมาณ300ม. ตามแนวกว้างกว่า500 ม. ท่ามกลางป่าครึ้ม อาจแบ่งธารน้ำตกได้เป็นสามกลุ่ม คือกลุ่มด้านซ้ายมือ (เมื่อหันหน้าเข้าหาน้ำตก) เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดสูงที่สุด และเป็นด้านที่สวยที่สุด มีธารน้ำตกหลายสายไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้นเชิง ส่วนกลุ่มตรงกลาง สายน้ำไหลลงมาจากหน้าผาสูงชันใกล้เคียงกบกลุ่มซ้ายมือแต่ไม่เป็นชั้นและแคบกว่า ส่วนหลุ่มทางขวามือ มีสายน้ำตกมากและหน้าผาเตี้ยกว่าสองกลุ่มแรก เมื่อมองทั้งสามกลุ่มรวมกันจะเห็น น้ำตกทีลอซู ที่ยิ่งใหญ่และสวยงาม บริเวณด้านล่างมีทางเดินไปยังจุดชมวิวทิวทัศน์บนยอดเขาฝั่งตรงกันข้าม เป็นจุดที่มองเห็น น้ำตกทีลอซู ได้สวยงามและชัดเจนขึ้น ใช้เวลาเดินไปกลับประมาณ 2 ชม

การเดินทาง
การเดินทาง รถยนต์ จากอำเภออุ้มผางใช้เส้นทางสายอุ้มผาง-แม่สอด ถึงหลักกิโลเมตรที่ 161 มีทางแยกซ้ายที่บ้านแม่กลองใหม่ไปด่านเดลอ หรือจุดตรวจ “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง” เป็นระยะทาง 30 กิโลเมตร (สำหรับนักท่องเที่ยวที่ขับรถเข้าน้ำตกทีลอซูต้องติดต่อขอรับใบอนุญาตเข้าที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง (สป. ๗) ได้ที่ ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และอนุรักษ์อุ้มผางก่อนทุกครั้ง นักท่องเที่ยวต้องยื่น สป. 7 ที่ด่านเดลอ) จากนั้นเดินทางไปตามถนนลูกรังอีก 26 กิโลเมตร ถึงที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 3 ชั่วโมง เส้นทางช่วงนี้เป็นทางดิน ควรใช้รถปิคอัพ หรือรถขับเคลื่อน 4 ล้อที่ช่วงล่างมีความสูงมากพอสมควร ในฤดูฝนรถอาจเข้าไม่ได้ และจากที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร จึงถึงตัวน้ำตกทีลอซู

สถานที่พัก

สถานที่พักผ่อนทริปท่องเที่ยวน้ำตกทีลอซู มีให้เลือกหลายรูปแบบ 1. ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง (นอนเต้นท์)
2. ในตัวเมืองอุ้มผาง ทั้งที่ติดแม่น้ำและไม่ติดแม่น้ำ การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหมายเลข 1 สู่ จ.ตาก ก่อนถึง จ.ตาก ซ้ายมือมีทางแยกป้ายบอก ทางเข้าสู่ อ.แม่สอด ระยะทางประมาณ 87 กิโลแมตร แล้วต่อจาก อ.แม่สอดไป อ.อุ้มผาง เส้นทางนี้ ต้อง ระวังให้มาก เพราะเป็นเส้นถนนตัดผ่านเขาสลับซับซ้อนคดโค้งกว่าพันโค้ง ได้สัมญานามว่า"สายลอยฟ้า" ด้วยระยะทางประมาณ 164 กิโลเมตร กินเวลาประมาณ 4-5 ชั่งโมง ซึ่งไม่เบาเหมือนกัน ผู้ที่ขับรถไปเองต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ระหว่างทางทิวทัศน์ชวนให้หลงไหลเพลิดเพลินไปกับการเดินทาง จากเส้นทางอุ้มผางสู่น้ำตกทีลอซู ระยะทางประมาณ 43 กิโล ถึงเขตรักษาพันธุ์ฯ แล้วเดินเท้าเข้าไปที่น้ำตกอีก 1.8 กิโลก็จะถึงถึงน้ำตกทีลอซู ความเหน็ดเหนื่อยกับการเดินทางก็หมดสิ้นไป สายน้ำตกแห่งความอลังการทีลอซู รอการมาเยือนจากทุกท่าน ทุกวันเวลา






ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B9

http://www.youtube.com/watch?v=NIGEICqpQRM





วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

น้ำตกเอราวัณ

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=kwhwU99AImU
น้ำตกเอราวัณ เป็นน้ำตกที่ใหญ่และสวยงาม บนฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ ตั้งอยู่ที่ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นน้ำตกที่มีระยะทางยาวประมาณ 1,500 เมตร ติดต่อกัน ซึ่งแบ่งออกเป็นชั้นๆ ได้ 7 ชั้นเป็นน้ำตกขนาดใหญ่เดิม มีชื่อว่า น้ำตกสะด่องม่องลาย ตามชื่อลำห้วยม่องล่ายซึ่งเป็นต้นน้ำของน้ำตกที่เกิดจากยอดเขา ตาม่องล่ายใน เทือกเขาสลอบ สายน้ำจะไหลมาตามชั้นหินเป็นระยะทางประมาณ 1,500 เมตร แบ่งออกเป็นชั้นใหญ่ๆได้ 7 ชั้น แต่ละชั้นมีีความสวยงามร่มรื่นไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ทั้งเถาวัลย์พันเกี่ยวทอดตัวไปบนต้นไม้ใหญ่ กล้วยไม้ป่า หลายชนิดบนคาคาคบไม้ สายธารน้ำที่ไหลตกลดหลั่นลงมาบนโขดหินสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง เสียงสาดซ่า คลอเคล้า ด้วยเสียงเพรียกของนกป่า ทำให้สภาพความเป็นธรรมชาติสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น นับเป็นบรรยากาศที่เรียกเอาความมี คุณค่าของป่าเขาลำเนา ไพรซึมซับเข้าสู่อารมณ์ของผู้ใฝ่ความสันโดษ และรักธรรมชาติโดยแท้จริง ในชั้นที่ 7 อันเป็นชั้นบนสุดของน้ำตกลักษณะของน้ำตกชั้นที่ 7 ลักษณะสายน้ำไหลบ่า มองดูคล้ายกับหัวช้างเอราวัณซึ่งมี 3 หัว จึงกลายมาเป็นที่มาของชื่อน้ำตก จนคนทั่วไปรู้จักและขนานนามว่า “น้ำตกเอราวัณ”

ที่มา http://www.paiduaykan.com/76_province/central/kanjanaburi/arawanwaterfall.html