mammos

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์



เขื่อนป่าสัก ,เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งอยู่ ณ บ้านหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เป็นเขื่อนดินที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ซึ่งแม่น้ำป่าสักมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 13 ในจำนวน 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 14,520 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะของลุ่มน้ำแคบเรียวยาว แหล่งต้นน้ำอยู่จังหวัดเลย ลำน้ำมีความยาว 513 กิโลเมตร ไหลผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี และมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยประมาณ 2,400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี


      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมของโครงการเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสักอย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพื่อประโยชน์ต่อพื้นที่เพาะปลูก และ บรรเทาปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นประจำในลุ่มน้ำป่าสัก เป็นผลสืบเนื่องมายังเขตกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑลด้วย ซึ่งนำความเดือนร้อนมาให้ราษฎร์เกือบทุกปี ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัส  เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทานว่า หากเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปัจจุบัน ก็สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง และขาดแคลนน้ำให้กับประชาชนได้ จะต้องก่อสร้างเขื่อน 2 แห่ง ที่แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำนครนายก ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดำเนินการ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 โครงการนี้ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2537 - 2542 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานนามเขื่อนนี้ว่า "เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" อันหมายถึง "เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ" เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ได้เริ่มเก็บกักน้ำครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบดีราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธี  เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีลักษณะเป็นเขื่อนดิน แกนดินเหนียว ความยาวประมาณ 4,860 เมตร ระดับกักเก็บน้ำสูงสุดที่ +43.00 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ปริมาณกักเก็บน้ำ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีอาคารระบายน้ำ 3 แห่ง คือ


- อาคารระบายน้ำล้น ระบายน้ำได้สูงสุดวินาทีละ 3,900 ลูกบาศก์เมตร
- อาคารท่อระบายน้ำลงลำน้ำเดิม ระบายน้ำได้สูงสุดวินาทีละ 80 ลูกบาศก์เมตร
- อาคารท่อระบายน้ำฉุกเฉิน ระบายน้ำได้สูงสุดวินาทีละ 65 ลูกบาศก์เมตร

      การก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 23,36 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง ด้านชลประทาน 7,831 ล้านบาท งบประมาณแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม 15,505 ล้านบาท โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และงานอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบเสร็จสมบูรณ์และ เพื่อเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในวาระที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

ประโยชน์ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
- เป็นแหล่งน้ำเพื่อ อุปโภค ของชุมชนในเขตจังหวัด ลพบุรี - สระบุรี
- เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ชลประทานที่เกิดใหม่ในเขตจังหวัดลพบุรี-สระบุรี
- ช่วยป้องกันอุทกภัยในเขตพื้นที่ริมแม่น้ำป่าสัก ในเขตจังหวัดลพบุรี-สระบุรี และ ช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑลด้วย
- เป็นแหล่งเพาะพันธ์ปลา และเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่
- เป็นแหล่งน้ำเสริม เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในเขตกรุงเทพฯ
- เป็นแหล่งท่องเที่ยว


ลักษณะของลุ่มน้ำป่าสัก
แม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสาขาที่สำคัญสายหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ต้นน้ำเริ่มที่  อ.ด่านซ้าย  จังหวัดเลย  ไหลผ่าน จังหวัดเพชรบูรณ์ ,ลพบุรี,สระบุรี,และบรรจบกับแม่น้ำ เจ้าพระยาที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมความยาว 513 กิโลเมตร มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 14,520 ตารางกิโลเมตร
ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยในแต่ละปี 2,400ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม

ข้อมูลเฉพาะ
1. ลักษณะทั่วไป  เขื่อนดินเหนียวกั้นแม่น้ำป่าสัก  พื้นที่เหนือเขื่อนเป็นอ่างเก็บน้ำ
2. เขื่อนป่าสักชลสิทธ์
    -  ที่ตั้ง  บ้านแก่งเสือเต้น  ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม  จังหวัดลพบุรี
และบ้านคำพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี พิกัด 47 PQS222 – 443
ระวาง 5238 IV
    -  ลักษณะ   เขื่อนดินมีแกนดินเหนียว
    -  ความยาว  4,860  เมตร
    - ระดับสันเขื่อน +46.5 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง
    - เก็บกักน้ำ  สูงสุดที่ + 43.0 เมตร รทก.ความจุ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร
    - อาคารประกอบ  1.  อาคารระบายน้ำล้นเป็นประตูระบายน้ำคอนกรีตเสริม
เหล็ก 7 ช่อง ระบายน้ำได้สูงสุด 3,900  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

3.  ท่อระบายน้ำลงพื้นลำน้ำเดิมเป็นท่อคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.0 เมตร สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 80 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

4. ท่อระบายน้ำฉุกเฉิน  เป็นบ่อคอนกรีตเสริ้มเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.0 เมตร สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 65 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
- คันกั้นน้ำ  มี 2 แห่ง คือ (1) คันกั้นน้ำท่าหลวง ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าหลวงอำเภอท่าหลวง  จังหวัดลพบุรี  ยาว 1,716 เมตร
                                      (2) คันกั้นน้ำโคกสลุง  ตั้งอยู่ที่ตำบลโคกสลุง  อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ยาว 4,120 เมตร

5.  อ่างเก็บน้ำ
    - ที่ตั้ง  ตลอดคลุมบริเวณพื้นที่  2 ฝั่งแม่น้ำป่าสัก ในเขตอำเภอชัยบาดาล
อำเภอท่าหลวง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี  และอำเภอวังม่วงจังหวัดสระบุรี
    - พื้นที่  114,119 ไร่ หรือ 45,650 เอเคอร์
    - เก็บกักน้ำ  สูงสุดที่  +43.0  เมตร รกท.   ความจุ  960  ล้านลูกบาศก์เมตร
ต่ำสุดที่   +21.50  เมตร รกท.  ความจุ    2 ล้านลูกบาศก์เมตร

งบลงทุน
1)  งานก่อสร้างด้านชลประทาน                      งบประมาณ             5,098.5173   ล้านบาท
     1.1  เขื่อนหัวงานและอาคารประกอบ                 "                      2,656.0000   ล้านบาท
     1.2 ระบบชลประทาน                                       "                      1,267.5173   ล้านบาท
     1.3 ก่อสร้างส่วนประกอบอื่น                             "                      1,175.0000   ล้านบาท
2) งานแก้ไขและพัฒนาสิ่งแวดล้อม                         "                      14,132.2750  ล้านบาท
     2.1 แผนกการประชาสัมพันธ์                             "                         5.5690  ล้านบาท
     2.2 แผนกการจ่ายค่าทดแทนทรัพย์สิน                "                         8,520.7900  ล้านบาท
     2.3 แผนการจัดตั้งถิ่นฐานใหม่                            "                         3,284.0000   ล้านบาท
      และการพัฒนาส่งเสริมอาชีพให้แก่ราษฎร
     2.4  แผนการป้องกันแก้ไขและพัฒนา                  "                         2,224.0280 ล้านบาท
            เส้นทางคมนาคม
            - รถไฟ                                                       "                         2,169.0280  ล้านบาท
            - ทางหลวง                                                "                       55.0000  ล้านบาท
     2.5  แผนการแก้ไขและพัฒนา                    งบประมาณ               97,8880  ล้านบาท
            สิ่งแวดล้อมด้านอื่น ๆ
            2.5.1    แผนงานด้านโบราณคดี                  "                       8.0000  ล้านบาท
            2.5.2    แผนนำไม้ออกและแผ้วถางป่า          "                    36.6360  ล้านบาท
            2.5.3   แผนการอพยพและอนุรักษ์สัตว์ป่า     "                      9.7520  ล้านบาท
            2.5.4   แผนงานด้านทรัพยากรแร่                "                      0.2000 ล้านบาท
            2.5.5   แผนการควบคุมคุณภาพน้ำ              "                    14.2000  ล้านบาท
            2.5.6   แผนการเตรียมการด้าน                    "                    19.5000  ล้านบาท
                        สาธารณสุข
            2.5.7   การติดตามและประเมินผล               "                       9.6000  ล้านบาท
                       รวมทั้งสิ้น                                                              19,230.7900  ล้านบาท


ประโยชน์
         1. เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภค -  บริโภค  ของชุมชนต่าง ๆ ในเขตจังหวัดลพบุรีและ จังหวัดสระบุรี  (ลำนารายณ์  พัฒนานิคม  วังม่วง  แก่งคอย  และชุมชนขนาดย่อมใกล้เคียง)
          2. เป็นแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรสำหรับพื้นที่ชลประทานที่จะเกิดขึ้นใหม่  ในเขตจังหวัดลพบุรี และสระบุรี  135,500 ไร่ (แก่งคอย – บ้านหมอ 80,000 ไร่  , พัฒนานิคม  35,500 ไร่ และพัฒนานิคม – แก่งคอย 20,000 ไร่)
          3. เป็นแหล่งน้ำเสริมสำหรับพื้นที่โครงการชลประทานเกิดในทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง เนื้อที่ประมาณ  2,200,000 ไร่ ทำให้ลดการใช ้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา นำน้ำจากแม่น้ำป่าสักไปใช้ในแถบจังหวัดลพบุรีและสระบุรีโดยตรง
          4. ช่วยป้องกันอุทกภัยให้พื้นที่ริมแม่น้ำป่าสัก ในเขตจังหวัดลพบุรีและสระบุรี และยังมีผลช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลด้วย
          5. เป็นแหล่งน้ำช่วยเสริมเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค – บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
          6. เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดลพบุรี  และสระบุรี
          7. อ่างเก็บน้ำที่เกิดขึ้นจะเป็นแห่ลงเพราะพันธุ์ปลาและเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่
          8. ช่วยการคมนาคมทางน้ำในแม่น้ำป่าสักตอนล่างและการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย
          9. เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ




เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกที่หนึ่งของจังหวัดลพบุรีที่เหล่าประชาชนทั่วไปให้ความสนใจแวะเข้ามาเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นโครงการของพ่อหลวงของพวกเราชาวไทย สร้างขึ้นเพื่อให้พี่น้องในลุ่มน้ำป่าสักแห่งนี้หลอดพ้นจากภัยแล้งและภัยน้ำท่วม ภายในบริเวณเขื่อนยังมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิด บริเวณเขื่อนยังมี จุดชมวิวสันเขื่อน พิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งแสดงความรู้ด้านธรรมชาติ และวัฒนธรรมของท้องถิ่น รอบตัวเขื่อนเป็นสวนสุขภาพเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจร่มรื่นสวยงามด้วยต้นไม้และดอกไม้นานาพันธุ์เราเข้าไปเที่ยวกันเลย







ที่มา http://www.moohin.com/011/011k002.shtml

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C&hl=th&prmd=imvns&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=sJJ1T7WjDoWqrAel9uysDQ&ved=0CE0QsAQ&biw=1280&bih=666

http://www.youtube.com/watch?v=KQ5aWYjubdI




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น