mammos

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่


อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีอาณาเขตครอบคลุม 11 อำเภอของ 4 จังหวัด คือ จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครนายก ได้รับสมญานามว่าเป็นอุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็น ป่าผืนใหญ่ ตั้งอยู่ในเทือกเขาพนมดงรักในส่วนหนึ่งของดงพญาไฟหรือดงพญาเย็นในอดีต ประกอบด้วยขุนเขา น้อยใหญ่สลับ ่ซับซ้อนหลายลูกเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่สำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำนครนายก แม่น้ำมูล อุดมสมบูรณ์



สภาพทั่วๆ ไปของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นพื้นที่ด้านตะวันตกของเทือกเขาพนมดงรักซึ่งสูงโดดเด่นขึ้นมา จากที่ราบภาคกลางแล้วก่อตัวเป็นแนวเขตของที่ราบสูงโคราช มีเขาร่มเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด 1,351 เมตร เขาแหลมสูง 1,326 เมตร เขาเขียวสูง 1,292 เมตร เขาสามยอดสูง 1,142 เมตร เขาฟ้าผ่าสูง 1,078 เมตร เขากำแพงสูง 875 เมตร เขาสมอปูนสูง 805 เมตร และเขาแก้วสูง 802 เมตร ซึ่งวัดความสูงจากระดับน้ำทะเล เป็นเกณฑ์ และยังประกอบด้วย ทุ่งกว้างสลับกับป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ด้านทิศเหนือและตะวันออกพื้นที่จะลาดลง ทางทิศใต้และตะวันตกเป็นที่สูงชัน ไปเรื่อยๆ
นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารที่สำคัญถึง 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำนครนายก อยู่ใน พื้นที่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเกษตรกรรมและระบบทางเศรษฐกิจและ สังคมของภูมิภาคนี้ แม่น้ำทั้ง 2 สายนี้ มาบรรจบกันที่จังหวัดฉะเชิงเทรา กลายเป็นแม่น้ำบางปะกง แล้วไหลลง สู่อ่าวไทย แม่น้ำลำตะคองและแม่น้ำพระเพลิง อยู่ในพื้นที่ทางทิศเหนือไหลไปหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของที่ ราบสูงโคราช ไปบรรจบกับแม่น้ำมูลซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของภาคอีสานตอนล่างไหลลงสู่แม่น้ำโขง ห้วยมวกเหล็ก อยู่ทางทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือ มีปริมาณน้ำไหลตลอดทั้งปีและให้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะการปศุสัตว์์ของ ภูมิภาคนี้ ไหลลงสู่แม่น้ำป่าสัก ที่อำเภอมวกเหล็ก



 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าชุกชุมมาก ในบางโอกาสขณะขับรถยนต์ไปตามถนน จะสามารถ
เห็นสัตว์ป่าเดินผ่านหรือออกหากินตามทุ่งหญ้า หรืออาจจะเห็นโขลงช้างออกหากินริมถนน ลูกช้างเล็กๆ ซนและ น่ารักมาก บริเวณตั้งแต่ที่ชมวิวกิโลเมตรที่ 30 จนถึงปากทางเข้าหนองผักชี ตลอดจนโป่งต้นไทร ในปัจจุบันถ้า ขับรถยนต์์ขึ้นเขาใหญ่ทางด่านตรวจเนินหอมข้ามสะพานคลองสามสิบไปแล้ว สามารถเห็นโขลงช้างได้เหมือนกัน สัตว์ป่าที่สามารถพบได้บ่อยๆ และตามโอกาสอำนวย ได้แก่ เก้งกวาง ตามทุ่งหญ้าทั่วๆ ไป นอกจากนี้ยังพบ เสือโคร่ง กระทิง เลียงผา หมี เม่น ชะนี พญากระรอก หมาไม้ ชะมด อีเห็น กระต่ายป่า นกชนิดต่างๆ จำนวน 250 ชนิด จากจำนวนไม่น้อยกว่า 340 ชนิด ที่สำรวจพบอาศัยอยู่บริเวณป่าเขาใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งหาอาหารและที่อาศัย อย่างถาวรนกที่น่าสนใจและพบเห็นได้บ่อย ได้แก่ นกเงือก นกขุนทอง นกขุนแผน นกพญาไฟ นกแต้วแล้ว นกโพระดก นกแซงแซว นกเขา นกกระปูด ไก่ฟ้า และนกกินแมลงชนิดต่างๆ นกเงือกทั้ง 4 ชนิด ซึ่งได้แก่
นกกก นกแก๊กนกเงือกกรามช้าง และนกเงือกสีน้ำตาล ที่พบบนเขาใหญ่นับว่าเป็นสิ่งที่ดึงดูดนักดูนกเป็นอย่างดี เพราะ พบเห็นได้ทั่วไป พวกแมลงที่มีมากกว่า 5,000 ชนิด ที่สวยงามและพบเห็นบ่อยได้แก่ ผีเสื้อ มีรายงาน พบกว่า 216 ชนิด
สภาพทั่วๆ ไปของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นพื้นที่ด้านตะวันตกของเทือกเขาพนมดงรักซึ่งสูงโดดเด่นขึ้นมา จากที่ราบภาคกลางแล้วก่อตัวเป็นแนวเขตของที่ราบสูงโคราช มีเขาร่มเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด 1,351 เมตร เขาแหลมสูง1,326 เมตร เขาเขียวสูง 1,292 เมตร เขาสามยอดสูง 1,142 เมตร เขาฟ้าผ่าสูง 1,078 เมตร เขากำแพงสูง 875 เมตรเขาสมอปูนสูง 805 เมตร และเขาแก้วสูง 802 เมตร ซึ่งวัดความสูงจากระดับน้ำทะเล เป็นเกณฑ์ และยังประกอบด้วย
แหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่(ในเขตจังหวัดนครราชสีมา)
1.ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ 
สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2505 ตั้งอยู่ กม. 24 ถนนธนะรัชต์ เส้นทางขึ้นเขาใหญ่ด้านอำเภอปากช่อง นักท่องเที่ยว ที่ผ่าน เข้าอุทยานฯ และประชาชนทั่วไปมักแวะไปกราบไหว้ขอโชคลาภและขอพรอยู่เสมอ
2.จุดชมทิวทัศน์ กม. 9 
อยู่ช่วงกิโลเมตรที่ 9 ถนนขึ้นเขาเขียวสามารถมองทิวทัศน์ ป่าไม้และภูเขาสูงด้านทิศเหนือตลอดแนวได้เป็น
อย่างดี
3.จุดชมทิวทัศน์ กม.30 กิโลเมตรที่ 30 ถนนธนะรัชต์สามารถชมทิวทัศน์ด้านทิศเหนือของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้เป็นบริเวณกว้าง และสวยงาม
4.จุดชมทิวทัศน์เขาเขียว 
(ผาเดียวดาย)นับเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามน่าชมเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมากมีลักษณะคล้าย ผานกเค้าที่ภูกระดึงจะมองเห็นภูเขาร่มขวางอยู่เป็นแนวยาวและทิวทัศน์ที่สวยงามด้านจังหวัดปราจีนบุรีตอนเช้าตรู่ จะเห็นพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าเป็นดวงกลมสีแดงเหนือสันเขาร่มที่สวยงาม
5.น้ำตกเหวนรก 
ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในเขตอำเภอปากพลีจากตัวเมืองเดินทางไปทางทิศตะวันออก ตามถนนสุวรรณศรถึงสี่แยกเนินหอมหรือวงเวียนนเรศวร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง หมายเลข 3077 ซึ่งเป็นทาง ขึ้นเขาใหญ่ไปจนถึงกม.ที่ 24 มีทางเดินเท้าไปน้ำตกเหวนรก อีก 2 กม. เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรกสูงประมาณ 60 เมตร เมื่อน้ำไหลผ่านน้ำตกชั้นนี้จะพุ่งไหลลงสู่หน้าผา ชั้นที่สองและสาม ในลักษณะ การไหลตก 90 องศา รวมความสูงไม่ต่ำกว่า 150 เมตร ในฤดูฝนน้ำไหลแรงมาก
6.น้ำตกกองแก้ว
เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่เกิดจากห้วยลำตะคอง อยู่ห่างจากที่ทำการ อุทยาน ฯ ประมาณ 100 เมตร ใกล้น้ำตก มีสะพาน แขวนข้ามลำห้วยลำตะคอง ซึ่งเป็นแนวแบ่งเขต จังหวัดนครนายกและจังหวัดนครราชสีมา
7.น้ำตกเหวสุวัต
อยู่ที่จุดสิ้นสุดของถนนธนะรัชต์ เกิดจากห้วยลำตะคอง ไหลตกจากหน้าผาสูงประมาณ 25 เมตรในฤดูฝนจะมีน้ำมากและไหลเชี่ยว ในฤดูแล้งปริมาณน้ำน้อย สามารถเดินไปยังหน้าผาของน้ำตกนี้ได้
8.น้ำตกเหวไทร
เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยลำตะคองถัดไปจากน้ำตกเหวสุวัต ต้องเดินเท้าจากน้ำตกเหวสุวัตไปอีกประมาณ
1.5 ก.ม. ใช้เวลาประมาณ 30 นาที น้ำตกไหลลงมาจากหน้าผา สูงประมาณ 5 เมตรในฤดูฝนน้ำไหลลงจากหน้าผา สวยงามมาก
9.น้ำตกผากล้วยไม้ 
อยู่ระหว่างทางไปน้ำตกเหวสุวัต โดยเดินเท้าจากถนนธนะรัชต์ ไปอีก 1 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลางอยู่ใน ลำห้วย ลำตะคอง เช่นเดียวกัน ที่หน้าผาของน้ำตกมีกล้วยไม้หวายแดงขึ้นอยู่ อันเป็นสัญลักษณ์ของน้ำตกแห่งนี้ ดอกหวาย แดงจะบานในฤดูร้อนประมาณเดือนเมษายน นอกจากนี้ยังมีน้ำตกอีกหลายแห่งซึ่งต้องเดินเท้าเป็น ระยะทางไกลได้แก่ น้ำตกห้วยโกรกเด้ น้ำตกเหวประทุน น้ำตกผากระจาย น้ำตกตาดตาภู่ น้ำตกวังเหว น้ำตกแม่ปล้อง น้ำตกผาชมพู น้ำตกผาตาด น้ำตกมะนาว และน้ำตกตาดตาคง
10.หอดูสัตว์ 
หอดูสัตว์เป็นสถานที่จัดทำขึ้นสำหรับการซุ่มดูสัตว์ป่า นักท่องเที่ยวสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่เวลา
06.00 น. - 18.00 น. จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
- หอดูสัตว์หนองผักชี
เป็นที่ดูสัตว์ที่มากินน้ำรอบๆ หนองน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นทุ่งหญ้าคากว้างใหญ่ มีโป่งสัตว์ ปากทางเข้าอยู่บริเวณ กิโลเมตร 35-36 ของถนนธนะรัชต์ ต้องเดินเท้าจากถนนเข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร
- หอดูสัตว์มอสิงโต 
อยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำมอสิงโต รอบๆ มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าโล่งที่เหมาะสำหรับซุ่มดูสัตว์ป่าที่มากินดินโป่งซึ่งเป็นดิน ที่มีแร่ธาตุสำคัญของสัตว์กินพืช อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 500 เมตร

หอดูสัตว์หนองผักชี







11.ส่องสัตว์ 
เป็นกิจกรรมที่ใช้ไฟส่องสัตว์ในเวลากลางคืนไปตามถนนสองข้างทาง เป็นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวให้ความนิยม มาก สามารถติดต่อขออนุญาตได้ที่ที่ทำการอุทยานฯ ก่อนเวลา 18.00 น. ทุกวัน
12.ดูนก
เขาใหญ่เป็นแหล่งดูนกที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง เส้นทางดูนกจะอยู่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ เส้นทางเดินป่า สองข้างทาง ถนนและบริเวณสนามกอล์ฟเดิม
13.เส้นทางศึกษาธรรมชาติ 
เส้นศูนย์บริการนักท่องเที่ยว-น้ำตกกองแก้ว ระยะทางประมาณ 1,200 เมตร เส้นทางนี้จะปูด้วยอิฐตัวหนอน มีป้ายสื่อความหมายตลอดเส้นทาง นักท่องเที่ยวสามารถเดินเองได้
รายละเอียดเพิ่มเติม
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
โทร .0-2561-4292-3 ต่อ 718, 720, 0-3731-9002, 08-6092-6530 และ 08-6092-6531
โดยนักท่องเที่ยวจะต้องเสียค่าธรรมเนียมผ่านเข้าอุทยาน ฯ ดังนี้ 
- นักท่องเที่ยวชาวไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท / คน เด็ก 20 บาท / คน
- นักท่องเที่ยวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 400 บาท / คน เด็ก 200 บาท / คน
หากนำพาหนะเข้าอุทยาน ฯ เก็บค่าธรรมเนียมตามประเภทพาหนะ ดังนี้ 
• รถจักรยาน 20 บาท / คัน
• รถจักรยานยนต์ 30 บาท / คัน
• รถยนต์ ( ไม่เกิน 4 ล้อ ) 50 บาท / คัน
• รถบัสเล็ก ( ไม่เกิน 24 ที่นั่ง ) 100 บาท / คัน
• รถบัสใหญ่ (24 ที่นั่งขึ้นไป ) 200 บาท / คัน
• รถบรรทุก 1-4 ตัน 4 ล้อ 200 บาท / คัน
• รถบรรทุก 4 ตัน 6 ล้อ 300 บาท / คัน
• รถบรรทุก 4 ตัน 6 ล้อขึ้นไป ห้ามผ่าน
สิ่งอำนวยความสะดวกและที่พัก
บริการอาหาร
มีบริการร้านอาหาร เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 07.00 - 18.00 น. ในวันจันทร์ - ศกุร์ และเวลา 07.00 - 21.00 น. ในวันเสาร์ - อาทิตย์ มีจำนวน 5 แห่ง คือ
- บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
- บริเวณจุดกางเต็นท์ผากล้วยไม้
- บริเวณจุดกางเต็นท์ลำตะคลอง
- บริเวณน้ำตกเหวสุวัต
- บริเวณน้ำตกเหวนรก

สถานที่พักแรม 
1. บ้านพักในอุทยานฯ
ที่พัก-บริการที่เปิดให้บริการจองผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต โดยมีทั้งหมด 6 โซนให้เลือก สามารถจอง ที่พักผ่านทางเว็บไซต์ http://www.dnp.go.thหรือสามารถพักในโรงแรม สอร์ท ที่พักของเอกชน ที่มีให้บริเวณ ทางขึ้นเขาใหญ่ คลิ๊ก
2. สถานที่กางเต้นท์
อุทยานฯมีสถานที่กางเต้นท์ 2 จุดได้แก่
- บริเวณผากล้วยไม้จัดเป็นสถานที่ตั้งเต็นท์พักแรม ซึ่งรับนักท่องเที่ยวได้กว่า 1,000 คน เสียค่าธรรมเนียม เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท/คืน มีร้านค้าสวัสดิการขายอาหาร และมีเต็นท์และเครื่องนอนให้เช่า
- บริเวณลำตะคอง
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
1. โดยรถส่วนตัว 
ถนนพหลโยธินผ่านรังสิตถึงสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าถนนมิตรภาพผ่านมวกเหล็กและเลี้ยวขวาอีกครั้งหนึ่งตรงทางแยกก่อนถึงอำเภอปากช่องตรงกิโลเมตร ที่ 58 เข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2090 (ถนนธนะรัชต์) ประมาณ 25 กิโลเมตร ถึงด่านตรวจจากนั้นเส้นทาง จะไต่ขึ้นเขาไปอีก 14 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางรวมทั้งสิ้น 200 กิโลเมตร ถนนพหลโยธินผ่านรังสิต ผ่านหนองแค
เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305 แล้วเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) ผ่านตัวเมืองนครนายกถึงสี่แยกเนินหอม หรือวงเวียนนเรศวร ก่อนเข้าตัวเมืองปราจีนบุรีเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวง
จังหวัดหมายเลข 3077 (ถนนปราจีนบุรี-เขาใหญ่) ถึงด่านตรวจเนินหอม ถนนเริ่มเข้าสู่ป่าและไต่ขึ้นที่สูง รวมระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร
ถนนพหลโยธิน เลี้ยวขวาบริเวณรังสิต
เข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305 มุ่งสู่ตัวเมืองนครนายก แล้วเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) ถึงสี่แยกเนินหอมหรือวงเวียนนเรศวร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนปราจีนบุรี-เขาใหญ่ รวมระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร
2. รถโดยสารประจำทาง 
รถโดยสารประจำทาง เส้นทางที่ 1
ขึ้นรถโดยสารประจำทาง กรุงเทพฯ - นครราชสีมา หรือมาจากที่อื่น ให้ลงที่แยก เข้า อ.ปากช่อง (กรณีที่รถโดย สารไม่เข้า ตัว อ.ปากช่อง) จะมีรถโดยสารประจำทางจากปากช่องมาถึงที่ด่านตรวจ เก็บค่าธรรมเนียม เที่ยวแรก จากปากช่อง เวลา 06.00 น. และเที่ยวสุดท้าย เวลา 17.20 น. ซึ่งรถโดยสารประจำทาง จะออกรถ ทุกครึ่งชั่วโมง ค่าโดยสาร 15 บาท โดยจะหมดระยะที่แค่ด่านเก็บค่าธรรมเนียม  แล้วโบกรถต่อขึ้นไปที่ ทำการอุทยานฯ รถโดยสารประจำทาง เส้นทางที่ 2
ขึ้นโดยสารรถประจำทาง กรุงเทพฯ - ปราจีนบุรี มาลงที่แยกวงเวียนนเรศวร (แยกเข้า จ.ปราจีนบุรี) ยืนรอโบกรถ หรือเหมารถมอเตอร์ไซด์ ที่แยกนี้ ลงที่ด่านเนินหอม (ด่านเก็บค่าธรรมเนียมอุทยานฯ) แล้วโบกรถต่อขึ้นอุทยานฯ
3.โดยรถไฟ 
ขึ้นรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ลงที่สถานี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา แล้วต่อรถสองแถวที่ตลาด อ.ปากช่อง - อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ลงที่ด่านเก็บค่าธรรมเนียมอุทยานฯ แล้วโบกรถต่อขึ้นไปที่ทำการอุทยานฯ
แผนที่เขาใหญ่
แผนที่ไปเขาใหญ่


แผนที่ท่องเที่ยวเขาใหญ่








               ที่มา   http://www.paiduaykan.com/76_province/Northeast/nakhonratchasima/kaoyai.html

                          http://www.youtube.com/watch?v=mpY8J58m1Ew

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น