mammos

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระแก้ว

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระแก้ว


วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว  เป็นวัดที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ภายในมีอาณาบริเวณ กว้าง ขวางรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับพระบรมมหาราชวังและกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็น การสร้างวัด ในพระราชวังตามอย่างวัด พระศรีสรรเพชญ์องกรุงศรีอยุธยา วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ทางทิศตะวันออก มีพระระเบียงล้อมรอบเป็นบริเวณ เป็นวัดคู่กรุงที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ใช้เป็นที่บวชนาคหลวง และประชุมข้าทูล ละอองพระบาทถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา



สิ่งที่น่าสนใจในวัดพระแก้ว

พระแก้วมรกต
เป็นพระประทับนั่งอย่างสมาธิราบในสกุลช่างล้านนา ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งรัชกาลที่ 1 ได้ทรงอัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทร์  เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งแกะสลักมาจากหยกสีเขียว เข้มที่มีค่าและหายากมาก พระแก้วมรกตจะมีเครื่องทรงที่แตกต่างกันไปในแต่ละฤดู ซึ่งเครื่องทรงเหล่านี้ทำด้วย ทองคำประดับเพชรและสิ่งมีค่าชนิดต่าง ๆ ถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญประการหนึ่งของ พระมหากษัตริย์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1  จนถึงรัชกาลปัจจุบันที่จะต้องเสด็จ ฯ ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงประจำฤดูด้วยตนเองซึ่งกำหนดวันเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกตมีดังนี้
วันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูร้อน
วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูฝน
วันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูหนาว
พระอุโบสถ
สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ หลังคาลด 4 ระดับ 3 ซ้อน มีช่อฟ้า 3 ชั้น ปิดทองประดับ กระจก ตัวพระอุโบสถมีระเบียงเดินได้โดยรอบ มีหลังคาเป็นพาไลคลุม รับด้วยเสานางรายปิดทองประดับกระจก ทั้งต้น พนักระเบียงรับเสานางราย ทำเป็นลูกฟักประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีอย่างจีน ตัวพระอุโบสถมี ฐานปัทม์ รับอีกชั้นหนึ่ง ประดับครุฑยุดนาคหล่อด้วยโลหะปิดทอง มีเสารายเทียนหล่อด้วยทองแดงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ผนังพระอุโบสถ ในรัชกาลที่1 เขียนลายรดน้ำบนพื้นชาดแดง รัชกาลที่ 3 โปรดเล้าฯ ให้ปั้นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ปิดทองประดับกระจก เพื่อให้เข้ากับผนังมณฑป ปิดทองประดับกระจก บานพระทวารและพระบัญชรประดับมุก ทั้งหมด ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 1 ที่เชิงบันไดมีสิงห์หล่อด้วยสำริดบันไดละคู่ รวม 12 ตัว โดยได้แบบมาจาก เขมรคู่หนึ่ง แล้วหล่อเพิ่มอีก 10 ตัว






จิตรกรรมฝาผนังวัดพระแก้ว
เป็นจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์รอบพระระเบียงวัด ร้อยเรียง เล่าขานตำนาน เรื่องรามเกียรติ์ถึง 178 ห้อง เป็นภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่ยาวที่สุดในโลก






ปราสาทพระเทพบิดร
 เดิมเรียก “พุทธปรางค์ปราสาทเป็นปราสาทยอดปรางจัตุรมุข สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในประดิษฐาน พระบรมรูปรัชกาลที่ 1-8 เปิดให้ประชาชนเข้าถวายบังคมพระบรมรูปในวันจักรี ( 6 เม.ย. ) ของทุกปี








พระมณฑป
ตั้งอยู่ทางด้านหลังปราสาทพระเทพบิดรสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ภายในมีตู้เก็บพระไตรปิฏกทรงมณฑป ประดับมุกฝีมือประณีตงดงาม





พระศรีรัตนเจดีย์
สร้างขึ้นตามแบบเจดีย์ดพระศรีสรรเพชญ์สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของพระมณฑป ภายในมีเจดีย์ องค์เล็กประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ






พระอัษฏามหาเจดีย์
บริเวณด้านหน้าพระอาราม สร้างสมัยรัชกาลที่ 1 เพื่อถวายแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ภายนอกระเบียง 6 องค์ภายใน ระเบียง 2 องค์มีชื่อประจำทุกองค์





ยักษ์ทวารบาล
ตั้งเรียงรายที่ช่องประตูพระระเบียงมีคู่เป็นยักษ์ตัวเอกจากเรื่องรามเกียรติ์ ยืนยามเฝ้ารอบพระอุโบสถ วัดพระแก้ว นั้น มี 12 ตน เป็นรูปปูนปั้นประดับกระเบื้อง ติดกระจก ยืนกุมกระบองอยู่ประจำประตูต่าง ๆ รอบพระอุโบสถ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๒ สูงประมาณ ๖ เมตร แต่ละตนก็มีสีสันและหน้าตาแตกต่างกัน ยักษ์เหล่านี้ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3พร้อมกับยักษ์วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม)  มีชื่อเรียงลำดับไปทางขวา โดยเริ่มจากบันไดหน้าปราสาทพระเทพบิดรดังนี้..สุริยาภพ (กายสีแดง) อินทรชิต (กายสีเขียว) มังกรกัณฐ์ (กายสีเขียว)วิรุฬหก (กายสีขาบ หรือน้ำเงินเข้ม) ทศคีรีธร (กายสีเขียว) ทศคีรีวัน (กายสีหม้อไหม้)ักรวรรดิ (กายสีขาว)อัศกรรณมารา (กายสีม่วงเข้ม) ทศกัณฐ์ (กายสีเขียว)สหัสเดชะ (กายสีขาว) ไมยราพณ์ (กายสีม่วงอ่อน)วิรัญจำบัง (กายสีขาวเจือดำ





หอพระคันธารราษฏร์
ที่มุมระเบียงด้านตะวันออกเป็นประดิษฐานพระพุทธคันธารราษฏร์ ซึ่งเป็นพระประธานในพิธีพิรุณ ศาสตร์ละ พระราชพิธีพืชมงคล ภายในหอมีภาพเขียนเกี่ยวกับฝนในแต่ละฤดูและฝนโบกขรณีฝีมือขรัวอินโข่ง



หอพระราชกรมานุสร
 เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ34 องค์ซึ่งรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างเป็นพระราชอุทิศถวายแด่พระมหากษัตริย์ ใน กรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี
หอพระราชพงศานุสร
สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ฝาผนังมีภาพจิตรกรรมพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฝีมือขรัวอินโข่ง นอกจากนี้บริเวณวัดยังมีเครื่อง ประดับ พระอาราม เช่น กระถางเขามอ กระถางต้นไม้น้ำ แท่นหิน ไม้ดัดไทย อับเฉา วางประดับเรียงรายอยู่โดยรอบ
หอพระนาก
อยู่ด้านหลังวิหารยอด เป็นอาคารทรงไทยหลังคามุงกระเบื้องเคลือบสี ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิพระบรมวงศ์
นอกจากนี้บริเวณวัดยังมีเครื่องประดับพระอาราม เช่น กระถางเขามอ กระถางต้นไม้น้ำ แท่นหิน ไม้ดัดไทย อับเฉา วางประดับเรียงรายอยู่โดยรอบ
นครวัดจำลอง
รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้พระสามภพพ่ายสร้างขึ้น โดยจำลองแบบจากปราสาทหินนครวัดของกัมพูชา เมื่อถึงใน สมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ด้วยปูน เพื่อฉลองพระนครครบรอบ 100 ปี



รายละเอียดเพิ่มเติม
เวลาทำการ:
ทุกวัน 08.30-15.30 น. คนไทยเข้าชมฟรี  ชาวต่างชาติ 200 บาท
กิจกรรม-เทศกาล :
วันอาทิตย์ เทศนาธรรม 13.00 น.
วันพระ: เทศนาธรรม 09.00 น. และ13.00 น.
มัคคุเทศน์ 10.00 น. และ 14.00 น.
ข้อห้าม:
ห้ามถ่ายรูปในพระอุโบสถ การแต่งกาย
ผู้ชาย: ห้ามใส่กางเกงขาสั้น รองเท้าแตะ
ผู้หญิง: ห้ามใส่เสื้อกล้าม ใส่เสื้อไม่มีแขนกางเกงสามส่วน รองเท้าแตะ
การเดินทางไป วัดพระแก้ว
วัดพระแก้วตั้งอยู่บนถนนหน้าพระลาน กรุงเทพมหานคร ใกล้ๆ กับท้องสนามหลวงและแม่น้ำเจ้าพระยา มีรถโดยสารผ่านหลายสาย เดินทางไปชมได้สะดวกตลอดปี
รถประจำทาง: 1 3 6 9 15 19 25 30 32 33 39 43 44 47 53 59 60 64 65 70 80 82 91 123 201203
รถปรับอากาศ: 1 8 25 38 39 44 506 507 512
ที่จอดรถ:
ท่าราชวรดิษฐ์,วัดมหาธาตุฯ ,ท่าพระจันทร์



     ที่มา   http://www.paiduaykan.com/province/central/bangkok/watphrakaew.html

               http://www.youtube.com/watch?v=R6FoQybwnQQ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น